วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย




ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำชาวต่างประเทศ ที่มาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดงานรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาต เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
ประวัติ
ทำเนียบรัฐบาล เดิมชื่อ “บ้านนรสิงห์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพทั้ง ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ชื่อบ้านนรสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เป็นชื่อพระราชทาน หรือเจ้าของบ้านตั้งขึ้นเอง คาดว่าเนื่องจากเจ้าพระยารามราฆพ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ ซึ่งมีตราเป็นรูปนรสิงห์ อันเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ อวตารลงมาปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ แต่เดิม เคยมีรูปปั้นนรสิงห์เต็มตัว ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าหน้าตึกไกรสร (ตึกไทยคู่ฟ้า) ปัจจุบันไม่ปรากฏว่าเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใด
ต่อมา ราวต้นปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นได้เจรจาขอซื้อ หรือเช่าบ้านนรสิงห์ เพื่อทำเป็นสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ด้วยเห็นว่ามีความสวยงามยิ่ง ต่อมาในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของบ้าน ได้มีหนังสือถึง นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอขายบ้านแก่รัฐบาล ในราคา 2,000,000 บาท เพราะเห็นว่าใหญ่โตเกินฐานะ และเสียค่าบำรุงรักษาสูง แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธ
ล่วงมาถึงเดือนกันยายน ปีเดียวกัน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นควรให้รัฐบาลไทยซื้อบ้านนรสิงห์ไว้ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ในที่สุด ได้ตกลงซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม) ได้อนุมัติภายใต้พระบรมราชานุญาต ให้กระทรวงการคลัง จ่ายเงินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แก่ เจ้าพระยารามราฆพ แล้วมอบบ้านนรสิงห์ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล โดยให้ใช้เป็นที่ตั้งทำเนียบรัฐบาล และเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
รัฐบาลไทยจึงเปลี่ยนชื่อบ้านนรสิงห์เป็น ทำเนียบสามัคคีชัย และ ทำเนียบรัฐบาล ตามลำดับ พร้อมกันนั้น ได้ย้ายที่ทำการสำนักนายกรัฐมนตรี จากวังสวนกุหลาบ เข้ามาด้วย ต่อมา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ซื้อทำเนียบรัฐบาล จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 17,780,802.36 บาทแล้วจึงทำการโอนกรรมสิทธิ์ ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512
ก่อนหน้านั้น คณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร แม้คณะกรรมการราษฎร จะแปรสภาพเป็นคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475แล้ว แต่ยังคงใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการต่อไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนพ.ศ. 2476 นายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ให้ย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการ มาที่วังปารุสกวัน เนื่องจากเป็นสถานที่หนึ่ง ซึ่งคณะราษฎรเข้ายึดไว้ เมื่อคราวปฏิวัติสยาม ในปี พ.ศ. 2475 และเป็นสถานที่พักของ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นด้วย โดยใช้ชื่อว่า “สำนักนายกรัฐมนตรี วังปารุสกวัน” ต่อ มา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 สำนักนายกรัฐมนตรี จึงย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการอีกครั้ง มายังวังสวนกุหลาบ ที่อยู่ใกล้เคียงกับวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นสถานที่หลังสุด ก่อนจะย้ายไปยังทำเนียบรัฐบาลในปัจจุบัน
อาคารภายในทำเนียบรัฐบาล
ตึกไทยคู่ฟ้า

ชื่อไทยคู่ฟ้านี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เดิมชื่อ ตึกไกรสร ตั้งมาจากพระนามเดิมของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศต้นราชสกุล พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นอาคารสูงสองชั้น สถาปัตยกรรมเป็นแบบกอทิกตอนปลาย (Neo Venetain Gothic) ที่มีศิลปะของไบเซนไทน์ผสม ผนังนกเจาะช่องโค้งปลายแหลมทรงสูง ประดับลวดลายปูนปั้น บางส่วนเขียนสีแบบปูนแห้ง (Fresco Secco) มี บันไดขึ้นด้านหน้า สู่ห้องโถงกลาง โดยบนระเบียงด้านหน้าหลังคา ชั้นดาดฟ้าตึก ซึ่งเป็นจุดเด่น หากมองจากหน้าตึก เป็นแท่นประดิษฐานรูปปั้นพระพรหม 4 พระพักตร์ 4 พระกร หน้าตักกว้าง 24 นิ้ว มีกำแพงคลาสสิกบังฐานด้านหน้า อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2507ภายในมีห้องต่างๆ ที่สวยงาม อีกทั้งตั้งชื่อไว้อย่างไพเราะ ประกอบด้วย

* ห้องโดมทอง - ตั้งอยู่ชั้นล่างของหอคอยทางทิศใต้ เป็นห้องพักแขกของนายกรัฐมนตรี
* ห้องสีงาช้าง - ตั้งอยู่ชั้นล่างด้านหน้าทางขวามือของห้องโดมทอง เป็นห้องรับรองแขกของนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
* ห้องสีม่วง - ตั้งอยู่ชั้นล่างทางขวามือของตึก เป็นห้องรับรองแขกของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
* ห้องสีเขียว - ตั้งอยู่ชั้นล่างถัดจากห้องสีม่วงทางทิศตะวันตก เป็นห้องประชุมคณะกรรมการต่างๆ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
* ชั้นบน - ประกอบด้วยห้องทำงานของนายกรัฐมนตรี ห้องทำงานข้าราชการการเมือง และห้องที่เคยใช้สำหรับประชุมคณะรัฐมนตรีแต่เดิม

ตึกนารีสโมสร
ชื่อนารีสโมสรนี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรม เดิมชื่อ ตึกพระขรรค์ มีที่มาจาก เจ้าพระยารามราฆพ เป็นมหาดเล็กผู้เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 ต่อมา ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลถนอม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตึกบริหาร นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้เป็นสถานที่แถลงข่าวมาหลายสมัย ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมสองหลังคู่กัน ล้อมรอบสนามหญ้า และสระน้ำพุ ตรงกลางอาคารเปิดโล่ง มีระเบียงรอบ สามารถเดินถึงกันได้ โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ทั้งภายนอกภายในอาคาร เช่นเดียวกับตึกไทยคู่ฟ้า

* ตึกสันติไมตรีหลังนอก - สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 ใน สมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดเลี้ยง และรับรองแขกจำนวนมาก รวมทั้งประชุมสัมมนาของหน่วยราชการ ประกอบด้วย ห้องรับรองใหญ่ ห้องรับรองเล็ก ห้องพักรอของนักแสดง/นักดนตรี และห้องควบคุมแสงเสียงหลังเวที อาคารหลังนี้ออกแบบโดย หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล

* ตึกสันติไมตรีหลังใน - สร้างขึ้นสมัยจอมพลถนอม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ในกิจการเช่นเดียวกับหลังนอก เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดงานใหญ่ ประกอบด้วย ห้องโถงใหญ่ และห้องสีฟ้า ซึ่งเป็นห้องพักรับรองแขกของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อาคารหลังนี้ออกแบบโดย พันเอก จิระ ศิลปกนก

ตึกบัญชาการหลังเก่า
เดิมเป็นที่ตั้งของ เรือนพลอยนพเก้า และ เรือนพราน ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับแขกของเจ้าพระยารามราฆพ โดยชื่อเรือนพรานนั้น มีที่มาจากเจ้าพระยารามราฆพเคยเป็นเสือป่าพรานหลวง ส่วนเรือนพลอยนพเก้า มีทั้งหมด 9 ห้อง แต่ละห้อง ตั้งชื่อตามอัญมณี 9 สี ซึ่งเคยใช้เป็นสำนักงานสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ต่อมา ในสมัยที่ จอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้รื้อถอนเรือนทั้งสอง เพื่อสร้างอาคารคอนกรีต สูง 5 ชั้น เข้ามุมตามแนวกำแพง เพื่อรักษารูปแบบเดิมของเรือนพลอยนพเก้า ที่เป็นเรือนไม้ซึ่งสร้างโค้งตามมุมกำแพง เนื่องจากเห็นว่า เรือนพลอยนพเก้า ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่ราชการ รวมไปถึงการมีหน่วยงานราชการสำคัญเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารหลังใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ตั้งชื่อว่า ตึกบัญชาการ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีใช้เป็นสถานที่ในการ บังคับบัญชาการทำงาน นอกจากนี้ ยังเคยเป็นที่ตั้งสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ห้องทำงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานหน่วยงาน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และห้องประชุมเล็ก
ตึกบัญชาการหลังใหม่
เดิมเป็นที่ตั้งของ ตึกสารทูล (ตึกขวาง) ตึกพึ่งบุญ ตึกบุญญาศรัย และ ตึกเย็น ซึ่งเป็นบ้านพักของครอบครัวเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมา รัฐบาลได้ใช้กลุ่มตึกนี้เป็นที่ทำการของสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อมครอบครัวด้วย ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น ตึก 24 มิถุนายน เพื่อรำลึกถึงวันปฏิวัติสยาม ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 จึง เริ่มก่อสร้างอาคารคอนกรีต สูง 5 ชั้น เนื่องจากตึกเดิมมีความคับแคบ ประโยชน์ใช้สอยมีน้อย ไม่เพียงพอกับงานราชการที่ขยายตัวขึ้น เมื่อสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายห้องทำงานนายกรัฐมนตรีมาที่ตึกหลังนี้ ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ห้องทำงานรองนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานหน่วยงาน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และห้องประชุมเล็ก
ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า
เดิมเป็นที่ตั้งของ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ที่ทำการ และบ้านพักนายราชจำนงค์ ผู้ดูแลผลประโยชน์บ้านนรสิงห์ เป็นเรือนไม้สองชั้น ซึ่งมีอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2484 ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 รัฐบาล ได้สร้างตึกสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องแบบสากลนิยมขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเคยเป็น ที่ทำการทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และกรมตรวจราชการแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นอาคารที่ทำการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ตึกพัฒนา

* ตึกหกชั้น - เป็นอาคารต่อเนื่องของตึกพัฒนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นที่ทำการสำนักงบประมาณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สำนักงบประมาณได้ย้ายออกไป จึงกลายเป็นที่ทำการ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน

รังนกกระจอก

* รังนกกระจอกหลังเก่า (ชื่อเรียก: รังฯ เก่า) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตึกไทยคู่ฟ้า เป็นตึกทรงแปดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้อง เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ

* รังนกกระจอกหลังใหม่ (ชื่อ เรียก: รังฯ ใหม่) ตั้งอยู่ในพื้นที่ติดกับทางเข้าประตู 1 ภายในรั้วทำเนียบรัฐบาล และโรงเก็บรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี เป็นตึกทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงกระเบื้อง ต่อเนื่องกับโรงเก็บรถ เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ และที่พักผ่อนของช่างภาพนิ่ง กับช่างภาพโทรทัศน์

ส่วนขยายทำเนียบรัฐบาล
อาคารส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่


เหตุการณ์สำคัญการบุกรุกเข้ายึดอาคารสถานที่

ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้บุกรุกเข้ายึดอาคารและสถานที่ต่างๆ ภายในทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด เพื่อชุมนุมขับไล่ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และต่อเนื่องจนถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ทางกลุ่มอ้างว่าเป็นรัฐบาลตัวแทน(Nominee)ของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร

เป็นอาคาร 4 ชั้น รูปทรงโบราณ ทาสีแดง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอาคาร เช่นเดียวกับอาคารส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ออกแบบโดย กรมศิลปากร สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน เป็นที่ทำการหน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังมีห้องประชุมคณะรัฐมนตรีแห่งใหม่ ที่ย้ายมาจากชั้น 5 ตึกบัญชาการหลังใหม่ด้วย

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บริเวณที่ตั้ง ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก ซึ่ง เดิมตั้งอยู่ติดกับกำแพงทำเนียบรัฐบาลด้านทิศตะวันตก และมีคูน้ำกั้นกลาง รวมเข้าเป็นอาณาบริเวณของทำเนียบรัฐบาลด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทำการ หน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

สถานที่ทำงานของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ

เดิมเป็นที่ตั้งของ ตึกใจจอด ซึ่งเป็นตึกครึ่งไม้ สูงสองชั้น เป็นบ้านพักอาศัยของญาติ หรือผู้ใกล้ชิดกับเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมากลายเป็นบ้านพัก พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ถัดไปคือ ตึกทะเล เป็นบ้านพักอาศัยของญาติสนิทเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมากลายเป็นบ้านพัก และที่ทำการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลไทยสร้างอาคารสูง 3 ชั้น ด้วยทุนของ องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีอาโต้; SEATO) เพื่อ ใช้เป็นสถานที่ประชุมของซีอาโต้ และเป็นที่ตั้งของสำนักงานซีอาโต้ในประเทศไทย จนเมื่อซีอาโต้ย้ายออกไปแล้ว จึงใช้เป็นที่ทำการของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาจนปัจจุบัน

คณะรัฐมนตรีไทย


ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง คณะรัฐมนตรี
พ้นจากตำแหน่ง วันแถลงนโยบาย
ชื่อ-สกุล คนที่/สมัยที่
คณะที่ 1 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/1 28 มิถุนายน 2475 10 ธันวาคม 2475 ไม่มีการแถลง แต่มีหลัก 6 ประการ
28 มิถุนายน 2475
คณะที่ 2 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/2 10 ธันวาคม 2475 1 เมษายน 2476 20 ธันวาคม 2475
คณะที่ 3 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/3 1 เมษายน 2476 20 มิถุนายน 2476 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 4 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/1 21 มิถุนายน 2476 16 ธันวาคม 2476 26 มิถุนายน 2476
คณะที่ 5 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/2 16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477 25 ธันวาคม 2476
คณะที่ 6 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/3 22 กันยายน 2477 9 สิงหาคม 2480 24 กันยายน 2477
คณะที่ 7 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/4 9 สิงหาคม 2480 21 ธันวาคม 2480 11 สิงหาคม 2480
คณะที่ 8 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/5 21 ธันวาคม 2480 16 ธันวาคม 2481 23 ธันวาคม 2480
คณะที่ 9 พันเอก หลวงพิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/1 16 ธันวาคม 2481 7 มีนาคม 2485 26 ธันวาคม 2481
คณะที่ 10 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/2 7 มีนาคม 2485 1 สิงหาคม 2487 16 มีนาคม 2485
คณะที่ 11 พันตรี ควง อภัยวงศ์ 4/1 1 สิงหาคม 2487 31 สิงหาคม 2488 3 สิงหาคม 2487
คณะที่ 12 นายทวี บุณยเกตุ 5 31 สิงหาคม 2488 17 กันยายน 2488 1 กันยายน 2488
คณะที่ 13 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/1 17 กันยายน 2488 31 มกราคม 2489 19 กันยายน 2488
คณะที่ 14 พันตรี ควง อภัยวงศ์ 4/2 31 มกราคม 2489 24 มีนาคม 2489 7 กุมภาพันธ์ 2489
คณะที่ 15 นายปรีดี พนมยงค์ 7/1 24 มีนาคม 2489 11 มิถุนายน 2489 25 มีนาคม 2489
คณะที่ 16 นายปรีดี พนมยงค์ 7/2 11 มิถุนายน 2489 23 สิงหาคม 2489 13 มิถุนายน 2489
คณะที่ 17 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 8/1 23 สิงหาคม 2489 30 พฤษภาคม 2490 26 สิงหาคม 2489
คณะที่ 18 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 8/2 30 พฤษภาคม 2490 8 พฤศจิกายน 2490 5 มิถุนายน 2490
คณะที่ 19 นายควง อภัยวงศ์ 4/3 10 พฤศจิกายน 2490 21 กุมภาพันธ์ 2491 27 พฤศจิกายน 2490
คณะที่ 20 นายควง อภัยวงศ์ 4/4 21 กุมภาพันธ์ 2491 8 เมษายน 2491 1 มีนาคม 2491
คณะที่ 21 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/3 8 เมษายน 2491 25 มิถุนายน 2492 21 เมษายน 2491
คณะที่ 22 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/4 25 มิถุนายน 2492 29 พฤศจิกายน 2494 6 กรกฎาคม 2492
คณะที่ 23 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/5 29 พฤศจิกายน 2494 6 ธันวาคม 2494 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 24 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/6 6 ธันวาคม 2494 24 มีนาคม 2495 11 ธันวาคม 2494
คณะที่ 25 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/7 24 มีนาคม 2495 21 มีนาคม 2500 3 เมษายน 2495
คณะที่ 26 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/8 21 มีนาคม 2500 16 กันยายน 2500 1 เมษายน 2500
คณะที่ 27 นายพจน์ สารสิน 9 21 กันยายน 2500 1 มกราคม 2501 24 กันยายน 2500
คณะที่ 28 พลโท ถนอม กิตติขจร 10/1 1 มกราคม 2501 20 ตุลาคม 2501 9 มกราคม 2501
ยึดอำนาจ คณะปฏิวัติ
(จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) - 20 ตุลาคม 2502 9 กุมภาพันธ์ 2502 -
คณะที่ 29 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 11 9 กุมภาพันธ์ 2502 8 ธันวาคม 2506 12 กุมภาพันธ์ 2502
คณะที่ 30 พลเอก ถนอม กิตติขจร 10/2 9 ธันวาคม 2506 7 มีนาคม 2512 19 ธันวาคม 2506
คณะที่ 31 จอมพล ถนอม กิตติขจร 10/3 7 มีนาคม 2512 17 พฤศจิกายน 2514 25 มีนาคม 2512
ยึดอำนาจ คณะปฏิวัติ
(จอมพล ถนอม กิตติขจร) - 18 พฤศจิกายน 2514 17 ธันวาคม 2515 -
คณะที่ 32 จอมพล ถนอม กิตติขจร 10/4 18 ธันวาคม 2515 14 ตุลาคม 2516 22 ธันวาคม 2515
คณะที่ 33 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 12/1 14 ตุลาคม 2516 22 พฤษภาคม 2517 25 ตุลาคม 2516
คณะที่ 34 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 12/2 27 พฤษภาคม 2517 15 กุมภาพันธ์ 2518 7 มิถุนายน 2517
คณะที่ 35 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/2 15 กุมภาพันธ์ 2518 14 มีนาคม 2518 6 มีนาคม 2518
คณะที่ 36 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 13 14 มีนาคม 2518 20 เมษายน 2519 19 มีนาคม 2518
คณะที่ 37 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/3 20 เมษายน 2519 25 กันยายน 2519 30 เมษายน 2519
คณะที่ 38 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/4 25 กันยายน 2519 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 39 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 14 8 ตุลาคม 2519 20 ตุลาคม 2520 29 ตุลาคม 2519
ยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(พลเรือเอก สงัด ชลออยู่) - 20 ตุลาคม 2520 10 พฤศจิกายน 2520 -
คณะที่ 40 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 15/1 11 พฤศจิกายน 2520 12 พฤษภาคม 2522 1 ธันวาคม 2520
คณะที่ 41 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 15/2 12 พฤษภาคม 2522 3 มีนาคม 2523 7 มิถุนายน 2522
คณะที่ 42 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/1 3 มีนาคม 2523 30 เมษายน 2526 28 มีนาคม 2523
คณะที่ 43 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/2 30 เมษายน 2526 5 สิงหาคม 2529 20 พฤษภาคม 2526
คณะที่ 44 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/3 5 สิงหาคม 2529 4 สิงหาคม 2531 27 สิงหาคม 2529
คณะที่ 45 พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ 17/1 4 สิงหาคม 2531 9 ธันวาคม 2533 25 สิงหาคม 2531
คณะที่ 46 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 17/2 9 ธันวาคม 2533 23 กุมภาพันธ์ 2534 9 มกราคม 2534
ยึดอำนาจ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(พลเอก สุนทร คงสมพงษ์) - 24 กุมภาพันธ์ 2534 1 มีนาคม 2534 -
คณะที่ 47 นายอานันท์ ปันยารชุน 18/1 2 มีนาคม 2534 7 เมษายน 2535 4 เมษายน 2534
คณะที่ 48 พลเอก สุจินดา คราประยูร 19 7 เมษายน 2535 10 มิถุนายน 2535 6 พฤษภาคม 2535
คณะที่ 49 นายอานันท์ ปันยารชุน 18/2 10 มิถุนายน 2535 23 กันยายน 2535 22 มิถุนายน 2535
คณะที่ 50 นายชวน หลีกภัย 20/1 23 กันยายน 2535 13 กรกฎาคม 2538 21 ตุลาคม 2535
คณะที่ 51 นายบรรหาร ศิลปอาชา 21 13 กรกฎาคม 2538 25 พฤศจิกายน 2539 26 กรกฎาคม 2538
คณะที่ 52 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 22 25 พฤศจิกายน 2539 9 พฤศจิกายน 2540 11 ธันวาคม 2539
คณะที่ 53 นายชวน หลีกภัย 20/2 9 พฤศจิกายน 2540 17 กุมภาพันธ์ 2544 20 พฤศจิกายน 2540
คณะที่ 54 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร 23 /1 17 กุมภาพันธ์ 2544 11 มีนาคม 2548 26 กุมภาพันธ์ 2544
คณะที่ 55 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร 23/2 11 มีนาคม 2548 19 กันยายน 2549 23 มีนาคม 2548
ยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) - 19 กันยายน 2549 1 ตุลาคม 2549 -
คณะที่ 56
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 24 8 ตุลาคม 2549 6 กุมภาพันธ์ 2551 3 พฤศจิกายน 2549
คณะที่ 57 นายสมัคร สุนทรเวช 25 6 กุมภาพันธ์ 2551 8 กันยายน 2551 18 กุมภาพันธ์ 2551
คณะที่ 58 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 26 24 กันยายน 2551 2 ธันวาคม 2551 7 ตุลาคม 2551
คณะที่ 59 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 27 20 ธันวาคม 2551 9 สิงหาคม 2554 30 ธันวาคม 2551
คณะที่ 60 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 28 9 สิงหาคม 2554 - 23 สิงหาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น