วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มรดกโลก

   



มรดกโลก คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
    ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ[1][2] โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น

การแบ่งประเภทของมรดกโลก

มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

. ประเทศ เท่านั้นที่มีการลงนามในอนุสัญญามรดกโลกให้คำมั่นว่าจะปกป้องมรดกทาง ธรรมชาติและวัฒนธรรมของพวกเขาสามารถยื่นข้อเสนอรับการเสนอชื่อสำหรับ คุณสมบัติในอาณาเขตของพวกเขาได้รับการพิจารณาเพื่อรวมไว้ในรายชื่อมรดกโลก ของยูเนสโก

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
10เกณฑ์ขึ้นทะเบียน"มรดกโลก"
.เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดยิ่ง

2.เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดของโลก

3.เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐาน แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว

4.เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรม

5.เป็นตัวอย่างของลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่าย เพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

6.มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

7.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการสำคัญๆ ในอดีตของโลก รวมทั้งแหล่งที่เป็นตัวแทนของยุคสำคัญๆ ในอดีต เช่น ยุคของสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง

8.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ ได้แก่ (ก) ขบวนการทางธรณีวิทยา เช่น ภูเขาน้ำแข็ง หรือภูเขาไฟ (ข) วิวัฒนาการทางชีววิทยา เช่น ป่าไม้เขตร้อน ทะเลทราย ที่ราบทุนดร้า (ค) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น เกษตรกรรมขั้นบันได

9.เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากเป็นพิเศษ เช่น การเกิดหรือลักษณะหรือแหล่งที่มีความงดงามทางธรรมชาติกว่าพื้นที่อื่นๆ เช่น ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษ สภาพทางธรรมชาติ (เช่น แม่น้ำ ภูเขา น้ำตก) แหล่งรวมความหนาแน่นของสัตว์ สภาพทิวทัศน์ที่มีพืชนานาชนิดเป็นองค์ประกอบ และแหล่งรวมความผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

10.เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย แต่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย

มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้

สำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
15. มอมบาซา เคนยา
16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารากัว
20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน และ
21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่

1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก

ไทยถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก
โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุลการที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยะรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ใน สาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัว ตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด
ปัญหา ซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฏหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะ กรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยะ ประเทศ
เหตุผล ที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนส โก
การ ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาล โลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุก ภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้ จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การ ถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลง ให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดย ที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการตี ความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้า จึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกใน เรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ
1.เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดยิ่ง
2.เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่งในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดของโลก
3.เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐาน แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ หรืออาจสูญหายไปแล้ว
4.เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรืออุตสาหกรรม
5.เป็นตัวอย่างของลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่าย เพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
6.มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
7.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการสำคัญๆ ในอดีตของโลก รวมทั้งแหล่งที่เป็นตัวแทนของยุคสำคัญๆ ในอดีต เช่น ยุคของสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง
8.เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ ได้แก่ (ก) ขบวนการทางธรณีวิทยา เช่น ภูเขาน้ำแข็ง หรือภูเขาไฟ (ข) วิวัฒนาการทางชีววิทยา เช่น ป่าไม้เขตร้อน ทะเลทราย ที่ราบทุนดร้า (ค) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น เกษตรกรรมขั้นบันได
9.เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากเป็นพิเศษ เช่น การเกิดหรือลักษณะหรือแหล่งที่มีความงดงามทางธรรมชาติกว่าพื้นที่อื่นๆ เช่น ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษ สภาพทางธรรมชาติ (เช่น แม่น้ำ ภูเขา น้ำตก) แหล่งรวมความหนาแน่นของสัตว์ สภาพทิวทัศน์ที่มีพืชนานาชนิดเป็นองค์ประกอบ และแหล่งรวมความผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม
10.เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่หายาก หรือที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย แต่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
ยูเนสโกจะประเมิน "เขาพระวิหาร" ว่าสมควรเป็น "มรดกโลก" หรือไม่จากเกณฑ์ข้อ 1-5
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ไทยที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534



มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2530 เห็นชอบให้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และเห็นชอบกับรายชื่อแหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ 6 แหล่ง หลังจากที่คณะทำงาน ซึ่งมีนายนิจ หิญชีระนันทน์ เป็นประธาน ได้ศึกษาความเหมาะสมในการเข้าร่วมเป็นภาคี และศึกษาว่าแหล่งใดมีศักยภาพพอที่จะขึ้นบัญชีมรดกโลกได้ รายชื่อแหล่งวัฒนธรรมทั้ 6 แหล่ง มีดังนี้

1. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
3. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
4. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
5. อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา
6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต่อจากนั้น เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2530 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกได้เห็นชอบให้แหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติของประเทศไทย ทั้ง 6 แหล่งอยู่ในบัญชีมรดกโลก

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ พิจารณาเห็นว่าเรื่องการดำเนินงานตามข้อผูกพันของอนุสัญญาฯ เป็นเรื่องสำคัญ ควรมีองค์กรเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสนอแหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติต่อยูเนสโก เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลก และเพื่อให้การดำเนินต่างๆ เป็นไปตามข้อผูกพันของอนุสัญญาฯ ดังนั้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้ม ครองมรดกโลก โดยมีองค์ประกอบ 19 คน ศ.ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ เป็นประธาน สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ แห่งสหประชาชาติ และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการ

ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้สิ้นสุดวาระลงตามคณะรัฐมนตรี แต่ภาระหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งชาติฯ จำเป็นต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกพัน ของอนุสัญญาฯ และกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นควรให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบนำเสนอคณะรัฐมนตรีเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติฯ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยตรงกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2534 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติฯ โดยมีองค์ประกอบเช่นเดิม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขนุการ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดก โลก นั้น คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่กรมศิลปากร กรมป่าไม้ ได้จัดทำเกี่ยวกับแหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ทั้ง 6 แหล่ง ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้ และเมื่อเดือนตุลาคม 2533 ประเทศไทยได้ส่งรายชื่อพร้อมทั้งรายละเอียดของข้อมูลภาษาอังกฤษของแหล่งมรดก ทั้ง 6 แหล่งดังกล่าวไปยังยูเนสโก เพื่อเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) ครั้งที่ 15 ณ เมืองคาร์เถจ ประเทศตูนีเซีย คณะกรรมการฯ พิจารณาให้แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยจำนวน 3 แหล่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลของการได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกดังนี้


อุทยานประวัติศาสตรฺ์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ คือ เป็นงานชิ้นสำคัญและโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมสยามยุคแรก และพื้นที่อุทยานแห่งนี้เป็นตัวแทนของศิลปกรรมสยามยุคแรก นับเป็นจุดกำเนิดการสร้างประเทศ

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุทธยา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุทธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ดดยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ คือ พื้นที่อุทยานแห่งนี้เป็นตัวแทนที่เป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเยี่ยมในการ สร้างสรรค์งานศิลปะ และแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องทางสถาปัตยกรรมไทยและชี้ให้เห็นถึงความ รุ่งเรืองในอดีต

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ได้ รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ คือ เป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความเด่นเป็นพิเศษ มีความเป็นเลิศของระบบชีวาลัย ซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศถึง 4 ประเภท คือ ทิศใต้ เป็นระบบนิเวศประเภทป่าดงดิบ ทิศตะวันตกเป็นระบบนิเวศอินโดเบอร์มา ทิศตะวันออกเป็นระบบนิเวศอินโดจีน และทิศเหนือเป็นระบบนิเวศแบบทิเบต-จีน ทั้งนี้ผืนป่ามีลักษณะเป็นเทือกเขา ภูเขาย้อย ทุ่งหญ้า นับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ มีความหลากหลายของลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะทางธรรมชาติที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอันอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งพันธุกรรมของสัตว์ป่าและพรรณพืชนานาชนิด และมีความงดงามตามธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง


บ้านเชียง ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 16 ณ เมืองซานตาเฟ่ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 6-14 ธันวาคม 2535 คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาให้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อีก 1 แหล่ง คือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เนื่องจากมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ คือ เป็นแหล่งที่แสดงถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของมวลมนุษยชาติที่สะสมสืบต่อมายาวนาน รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีโบราณวัตถุอันแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงวัฒนธรรมอัน เก่าแก่ที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ในบริเวณนั้น และเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมทั้งทางสังคมและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีมากกว่า 5,000 ปี ซึ่งปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ป่าดงพญาเย็น ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ใน การพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก คือ เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2533 แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก 3 แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่า เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง 2 แห่งนั้น เล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่แม่แน่นอนและไม่เพียงพอ

เขาใหญ่ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประกอบด้วยพื้นที่คุ้มครอง (PRotected Area) หรือพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 3,845,083.53 ไร่ หรือ 6,152.13 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสระบุรี นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ โดยด้านตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับผืนป่าบันทายฉมอร์ (Banteay Chmor) ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ (Protected Lanscape) ของราชอาณาจักรกัมพูชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น