วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รัฐบาลไทย




ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตลอดจนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี, สถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี, สถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญระดับผู้นำชาวต่างประเทศ ที่มาเยือนประเทศไทย และยังใช้เป็นสถานที่จัดงานรัฐพิธี เช่น งานสโมสรสันนิบาต เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
ประวัติ
ทำเนียบรัฐบาล เดิมชื่อ “บ้านนรสิงห์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพทั้ง ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานใกล้ชิด โปรดให้เป็นหัวหน้าห้องพระบรรทม นั่งร่วมโต๊ะเสวย ทั้งมื้อกลางวัน และกลางคืน ตลอดรัชกาล และตามเสด็จโดยลำพัง เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
ชื่อบ้านนรสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เป็นชื่อพระราชทาน หรือเจ้าของบ้านตั้งขึ้นเอง คาดว่าเนื่องจากเจ้าพระยารามราฆพ เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมมหรสพ ซึ่งมีตราเป็นรูปนรสิงห์ อันเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ อวตารลงมาปราบยักษ์หิรัณยกศิปุ แต่เดิม เคยมีรูปปั้นนรสิงห์เต็มตัว ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าหน้าตึกไกรสร (ตึกไทยคู่ฟ้า) ปัจจุบันไม่ปรากฏว่าเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใด
ต่อมา ราวต้นปี พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นได้เจรจาขอซื้อ หรือเช่าบ้านนรสิงห์ เพื่อทำเป็นสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ด้วยเห็นว่ามีความสวยงามยิ่ง ต่อมาในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน เจ้าพระยารามราฆพ เจ้าของบ้าน ได้มีหนังสือถึง นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอขายบ้านแก่รัฐบาล ในราคา 2,000,000 บาท เพราะเห็นว่าใหญ่โตเกินฐานะ และเสียค่าบำรุงรักษาสูง แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธ
ล่วงมาถึงเดือนกันยายน ปีเดียวกัน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นควรให้รัฐบาลไทยซื้อบ้านนรสิงห์ไว้ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ในที่สุด ได้ตกลงซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ พลเอกเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม) ได้อนุมัติภายใต้พระบรมราชานุญาต ให้กระทรวงการคลัง จ่ายเงินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แก่ เจ้าพระยารามราฆพ แล้วมอบบ้านนรสิงห์ ให้สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล โดยให้ใช้เป็นที่ตั้งทำเนียบรัฐบาล และเป็นสถานที่รับรองแขกเมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
รัฐบาลไทยจึงเปลี่ยนชื่อบ้านนรสิงห์เป็น ทำเนียบสามัคคีชัย และ ทำเนียบรัฐบาล ตามลำดับ พร้อมกันนั้น ได้ย้ายที่ทำการสำนักนายกรัฐมนตรี จากวังสวนกุหลาบ เข้ามาด้วย ต่อมา ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ซื้อทำเนียบรัฐบาล จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 17,780,802.36 บาทแล้วจึงทำการโอนกรรมสิทธิ์ ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512
ก่อนหน้านั้น คณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่าคณะรัฐมนตรี) ได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร แม้คณะกรรมการราษฎร จะแปรสภาพเป็นคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475แล้ว แต่ยังคงใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการต่อไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนพ.ศ. 2476 นายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ให้ย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการ มาที่วังปารุสกวัน เนื่องจากเป็นสถานที่หนึ่ง ซึ่งคณะราษฎรเข้ายึดไว้ เมื่อคราวปฏิวัติสยาม ในปี พ.ศ. 2475 และเป็นสถานที่พักของ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นด้วย โดยใช้ชื่อว่า “สำนักนายกรัฐมนตรี วังปารุสกวัน” ต่อ มา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 สำนักนายกรัฐมนตรี จึงย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการอีกครั้ง มายังวังสวนกุหลาบ ที่อยู่ใกล้เคียงกับวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นสถานที่หลังสุด ก่อนจะย้ายไปยังทำเนียบรัฐบาลในปัจจุบัน
อาคารภายในทำเนียบรัฐบาล
ตึกไทยคู่ฟ้า

ชื่อไทยคู่ฟ้านี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เดิมชื่อ ตึกไกรสร ตั้งมาจากพระนามเดิมของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศต้นราชสกุล พึ่งบุญ ณ อยุธยา เป็นอาคารสูงสองชั้น สถาปัตยกรรมเป็นแบบกอทิกตอนปลาย (Neo Venetain Gothic) ที่มีศิลปะของไบเซนไทน์ผสม ผนังนกเจาะช่องโค้งปลายแหลมทรงสูง ประดับลวดลายปูนปั้น บางส่วนเขียนสีแบบปูนแห้ง (Fresco Secco) มี บันไดขึ้นด้านหน้า สู่ห้องโถงกลาง โดยบนระเบียงด้านหน้าหลังคา ชั้นดาดฟ้าตึก ซึ่งเป็นจุดเด่น หากมองจากหน้าตึก เป็นแท่นประดิษฐานรูปปั้นพระพรหม 4 พระพักตร์ 4 พระกร หน้าตักกว้าง 24 นิ้ว มีกำแพงคลาสสิกบังฐานด้านหน้า อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2507ภายในมีห้องต่างๆ ที่สวยงาม อีกทั้งตั้งชื่อไว้อย่างไพเราะ ประกอบด้วย

* ห้องโดมทอง - ตั้งอยู่ชั้นล่างของหอคอยทางทิศใต้ เป็นห้องพักแขกของนายกรัฐมนตรี
* ห้องสีงาช้าง - ตั้งอยู่ชั้นล่างด้านหน้าทางขวามือของห้องโดมทอง เป็นห้องรับรองแขกของนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
* ห้องสีม่วง - ตั้งอยู่ชั้นล่างทางขวามือของตึก เป็นห้องรับรองแขกของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
* ห้องสีเขียว - ตั้งอยู่ชั้นล่างถัดจากห้องสีม่วงทางทิศตะวันตก เป็นห้องประชุมคณะกรรมการต่างๆ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
* ชั้นบน - ประกอบด้วยห้องทำงานของนายกรัฐมนตรี ห้องทำงานข้าราชการการเมือง และห้องที่เคยใช้สำหรับประชุมคณะรัฐมนตรีแต่เดิม

ตึกนารีสโมสร
ชื่อนารีสโมสรนี้ ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรม เดิมชื่อ ตึกพระขรรค์ มีที่มาจาก เจ้าพระยารามราฆพ เป็นมหาดเล็กผู้เชิญพระแสงขรรค์ชัยศรี หนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 ต่อมา ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ และ จอมพลถนอม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตึกบริหาร นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้เป็นสถานที่แถลงข่าวมาหลายสมัย ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมสองหลังคู่กัน ล้อมรอบสนามหญ้า และสระน้ำพุ ตรงกลางอาคารเปิดโล่ง มีระเบียงรอบ สามารถเดินถึงกันได้ โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ทั้งภายนอกภายในอาคาร เช่นเดียวกับตึกไทยคู่ฟ้า

* ตึกสันติไมตรีหลังนอก - สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 ใน สมัยที่ จอมพล ป.เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดเลี้ยง และรับรองแขกจำนวนมาก รวมทั้งประชุมสัมมนาของหน่วยราชการ ประกอบด้วย ห้องรับรองใหญ่ ห้องรับรองเล็ก ห้องพักรอของนักแสดง/นักดนตรี และห้องควบคุมแสงเสียงหลังเวที อาคารหลังนี้ออกแบบโดย หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล

* ตึกสันติไมตรีหลังใน - สร้างขึ้นสมัยจอมพลถนอม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ในกิจการเช่นเดียวกับหลังนอก เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดงานใหญ่ ประกอบด้วย ห้องโถงใหญ่ และห้องสีฟ้า ซึ่งเป็นห้องพักรับรองแขกของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อาคารหลังนี้ออกแบบโดย พันเอก จิระ ศิลปกนก

ตึกบัญชาการหลังเก่า
เดิมเป็นที่ตั้งของ เรือนพลอยนพเก้า และ เรือนพราน ซึ่งใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับแขกของเจ้าพระยารามราฆพ โดยชื่อเรือนพรานนั้น มีที่มาจากเจ้าพระยารามราฆพเคยเป็นเสือป่าพรานหลวง ส่วนเรือนพลอยนพเก้า มีทั้งหมด 9 ห้อง แต่ละห้อง ตั้งชื่อตามอัญมณี 9 สี ซึ่งเคยใช้เป็นสำนักงานสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ต่อมา ในสมัยที่ จอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้รื้อถอนเรือนทั้งสอง เพื่อสร้างอาคารคอนกรีต สูง 5 ชั้น เข้ามุมตามแนวกำแพง เพื่อรักษารูปแบบเดิมของเรือนพลอยนพเก้า ที่เป็นเรือนไม้ซึ่งสร้างโค้งตามมุมกำแพง เนื่องจากเห็นว่า เรือนพลอยนพเก้า ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่ราชการ รวมไปถึงการมีหน่วยงานราชการสำคัญเพิ่มขึ้นโดยลำดับ จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารหลังใหม่ เพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ตั้งชื่อว่า ตึกบัญชาการ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีใช้เป็นสถานที่ในการ บังคับบัญชาการทำงาน นอกจากนี้ ยังเคยเป็นที่ตั้งสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ห้องทำงานรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานหน่วยงาน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และห้องประชุมเล็ก
ตึกบัญชาการหลังใหม่
เดิมเป็นที่ตั้งของ ตึกสารทูล (ตึกขวาง) ตึกพึ่งบุญ ตึกบุญญาศรัย และ ตึกเย็น ซึ่งเป็นบ้านพักของครอบครัวเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมา รัฐบาลได้ใช้กลุ่มตึกนี้เป็นที่ทำการของสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งเป็นบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อมครอบครัวด้วย ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็น ตึก 24 มิถุนายน เพื่อรำลึกถึงวันปฏิวัติสยาม ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 จึง เริ่มก่อสร้างอาคารคอนกรีต สูง 5 ชั้น เนื่องจากตึกเดิมมีความคับแคบ ประโยชน์ใช้สอยมีน้อย ไม่เพียงพอกับงานราชการที่ขยายตัวขึ้น เมื่อสร้างเสร็จ จึงได้ย้ายห้องทำงานนายกรัฐมนตรีมาที่ตึกหลังนี้ ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ห้องทำงานรองนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานหน่วยงาน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และห้องประชุมเล็ก
ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังเก่า
เดิมเป็นที่ตั้งของ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ที่ทำการ และบ้านพักนายราชจำนงค์ ผู้ดูแลผลประโยชน์บ้านนรสิงห์ เป็นเรือนไม้สองชั้น ซึ่งมีอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2484 ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 รัฐบาล ได้สร้างตึกสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องแบบสากลนิยมขึ้น เพื่อเป็นที่ทำการสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาเคยเป็น ที่ทำการทบวงคณะรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และกรมตรวจราชการแผ่นดิน ปัจจุบันเป็นอาคารที่ทำการ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ตึกพัฒนา

* ตึกหกชั้น - เป็นอาคารต่อเนื่องของตึกพัฒนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เพื่อเป็นที่ทำการสำนักงบประมาณ ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สำนักงบประมาณได้ย้ายออกไป จึงกลายเป็นที่ทำการ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึงปัจจุบัน

รังนกกระจอก

* รังนกกระจอกหลังเก่า (ชื่อเรียก: รังฯ เก่า) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตึกไทยคู่ฟ้า เป็นตึกทรงแปดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้อง เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุ

* รังนกกระจอกหลังใหม่ (ชื่อ เรียก: รังฯ ใหม่) ตั้งอยู่ในพื้นที่ติดกับทางเข้าประตู 1 ภายในรั้วทำเนียบรัฐบาล และโรงเก็บรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี เป็นตึกทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคามุงกระเบื้อง ต่อเนื่องกับโรงเก็บรถ เป็นสถานที่ทำงานของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ และที่พักผ่อนของช่างภาพนิ่ง กับช่างภาพโทรทัศน์

ส่วนขยายทำเนียบรัฐบาล
อาคารส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่


เหตุการณ์สำคัญการบุกรุกเข้ายึดอาคารสถานที่

ระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้บุกรุกเข้ายึดอาคารและสถานที่ต่างๆ ภายในทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด เพื่อชุมนุมขับไล่ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และต่อเนื่องจนถึงรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ทางกลุ่มอ้างว่าเป็นรัฐบาลตัวแทน(Nominee)ของ พตท.ทักษิณ ชินวัตร

เป็นอาคาร 4 ชั้น รูปทรงโบราณ ทาสีแดง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งอาคาร เช่นเดียวกับอาคารส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ออกแบบโดย กรมศิลปากร สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน เป็นที่ทำการหน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังมีห้องประชุมคณะรัฐมนตรีแห่งใหม่ ที่ย้ายมาจากชั้น 5 ตึกบัญชาการหลังใหม่ด้วย

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีมีมติให้บริเวณที่ตั้ง ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก ซึ่ง เดิมตั้งอยู่ติดกับกำแพงทำเนียบรัฐบาลด้านทิศตะวันตก และมีคูน้ำกั้นกลาง รวมเข้าเป็นอาณาบริเวณของทำเนียบรัฐบาลด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทำการ หน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หน่วยงานในสังกัดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

สถานที่ทำงานของสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ

เดิมเป็นที่ตั้งของ ตึกใจจอด ซึ่งเป็นตึกครึ่งไม้ สูงสองชั้น เป็นบ้านพักอาศัยของญาติ หรือผู้ใกล้ชิดกับเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมากลายเป็นบ้านพัก พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ถัดไปคือ ตึกทะเล เป็นบ้านพักอาศัยของญาติสนิทเจ้าพระยารามราฆพ ต่อมากลายเป็นบ้านพัก และที่ทำการเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลไทยสร้างอาคารสูง 3 ชั้น ด้วยทุนของ องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีอาโต้; SEATO) เพื่อ ใช้เป็นสถานที่ประชุมของซีอาโต้ และเป็นที่ตั้งของสำนักงานซีอาโต้ในประเทศไทย จนเมื่อซีอาโต้ย้ายออกไปแล้ว จึงใช้เป็นที่ทำการของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาจนปัจจุบัน

คณะรัฐมนตรีไทย


ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย
คณะรัฐมนตรีคณะที่ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง คณะรัฐมนตรี
พ้นจากตำแหน่ง วันแถลงนโยบาย
ชื่อ-สกุล คนที่/สมัยที่
คณะที่ 1 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/1 28 มิถุนายน 2475 10 ธันวาคม 2475 ไม่มีการแถลง แต่มีหลัก 6 ประการ
28 มิถุนายน 2475
คณะที่ 2 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/2 10 ธันวาคม 2475 1 เมษายน 2476 20 ธันวาคม 2475
คณะที่ 3 พระยามโนปกรณนิติธาดา
(ก้อน หุตะสิงห์) 1/3 1 เมษายน 2476 20 มิถุนายน 2476 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 4 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/1 21 มิถุนายน 2476 16 ธันวาคม 2476 26 มิถุนายน 2476
คณะที่ 5 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/2 16 ธันวาคม 2476 22 กันยายน 2477 25 ธันวาคม 2476
คณะที่ 6 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/3 22 กันยายน 2477 9 สิงหาคม 2480 24 กันยายน 2477
คณะที่ 7 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/4 9 สิงหาคม 2480 21 ธันวาคม 2480 11 สิงหาคม 2480
คณะที่ 8 นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน) 2/5 21 ธันวาคม 2480 16 ธันวาคม 2481 23 ธันวาคม 2480
คณะที่ 9 พันเอก หลวงพิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/1 16 ธันวาคม 2481 7 มีนาคม 2485 26 ธันวาคม 2481
คณะที่ 10 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/2 7 มีนาคม 2485 1 สิงหาคม 2487 16 มีนาคม 2485
คณะที่ 11 พันตรี ควง อภัยวงศ์ 4/1 1 สิงหาคม 2487 31 สิงหาคม 2488 3 สิงหาคม 2487
คณะที่ 12 นายทวี บุณยเกตุ 5 31 สิงหาคม 2488 17 กันยายน 2488 1 กันยายน 2488
คณะที่ 13 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/1 17 กันยายน 2488 31 มกราคม 2489 19 กันยายน 2488
คณะที่ 14 พันตรี ควง อภัยวงศ์ 4/2 31 มกราคม 2489 24 มีนาคม 2489 7 กุมภาพันธ์ 2489
คณะที่ 15 นายปรีดี พนมยงค์ 7/1 24 มีนาคม 2489 11 มิถุนายน 2489 25 มีนาคม 2489
คณะที่ 16 นายปรีดี พนมยงค์ 7/2 11 มิถุนายน 2489 23 สิงหาคม 2489 13 มิถุนายน 2489
คณะที่ 17 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 8/1 23 สิงหาคม 2489 30 พฤษภาคม 2490 26 สิงหาคม 2489
คณะที่ 18 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 8/2 30 พฤษภาคม 2490 8 พฤศจิกายน 2490 5 มิถุนายน 2490
คณะที่ 19 นายควง อภัยวงศ์ 4/3 10 พฤศจิกายน 2490 21 กุมภาพันธ์ 2491 27 พฤศจิกายน 2490
คณะที่ 20 นายควง อภัยวงศ์ 4/4 21 กุมภาพันธ์ 2491 8 เมษายน 2491 1 มีนาคม 2491
คณะที่ 21 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/3 8 เมษายน 2491 25 มิถุนายน 2492 21 เมษายน 2491
คณะที่ 22 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/4 25 มิถุนายน 2492 29 พฤศจิกายน 2494 6 กรกฎาคม 2492
คณะที่ 23 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/5 29 พฤศจิกายน 2494 6 ธันวาคม 2494 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 24 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/6 6 ธันวาคม 2494 24 มีนาคม 2495 11 ธันวาคม 2494
คณะที่ 25 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/7 24 มีนาคม 2495 21 มีนาคม 2500 3 เมษายน 2495
คณะที่ 26 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(แปลก ขีตตะสังคะ) 3/8 21 มีนาคม 2500 16 กันยายน 2500 1 เมษายน 2500
คณะที่ 27 นายพจน์ สารสิน 9 21 กันยายน 2500 1 มกราคม 2501 24 กันยายน 2500
คณะที่ 28 พลโท ถนอม กิตติขจร 10/1 1 มกราคม 2501 20 ตุลาคม 2501 9 มกราคม 2501
ยึดอำนาจ คณะปฏิวัติ
(จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) - 20 ตุลาคม 2502 9 กุมภาพันธ์ 2502 -
คณะที่ 29 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 11 9 กุมภาพันธ์ 2502 8 ธันวาคม 2506 12 กุมภาพันธ์ 2502
คณะที่ 30 พลเอก ถนอม กิตติขจร 10/2 9 ธันวาคม 2506 7 มีนาคม 2512 19 ธันวาคม 2506
คณะที่ 31 จอมพล ถนอม กิตติขจร 10/3 7 มีนาคม 2512 17 พฤศจิกายน 2514 25 มีนาคม 2512
ยึดอำนาจ คณะปฏิวัติ
(จอมพล ถนอม กิตติขจร) - 18 พฤศจิกายน 2514 17 ธันวาคม 2515 -
คณะที่ 32 จอมพล ถนอม กิตติขจร 10/4 18 ธันวาคม 2515 14 ตุลาคม 2516 22 ธันวาคม 2515
คณะที่ 33 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 12/1 14 ตุลาคม 2516 22 พฤษภาคม 2517 25 ตุลาคม 2516
คณะที่ 34 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 12/2 27 พฤษภาคม 2517 15 กุมภาพันธ์ 2518 7 มิถุนายน 2517
คณะที่ 35 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/2 15 กุมภาพันธ์ 2518 14 มีนาคม 2518 6 มีนาคม 2518
คณะที่ 36 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 13 14 มีนาคม 2518 20 เมษายน 2519 19 มีนาคม 2518
คณะที่ 37 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/3 20 เมษายน 2519 25 กันยายน 2519 30 เมษายน 2519
คณะที่ 38 หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 6/4 25 กันยายน 2519 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีการแถลง
คณะที่ 39 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 14 8 ตุลาคม 2519 20 ตุลาคม 2520 29 ตุลาคม 2519
ยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
(พลเรือเอก สงัด ชลออยู่) - 20 ตุลาคม 2520 10 พฤศจิกายน 2520 -
คณะที่ 40 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 15/1 11 พฤศจิกายน 2520 12 พฤษภาคม 2522 1 ธันวาคม 2520
คณะที่ 41 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 15/2 12 พฤษภาคม 2522 3 มีนาคม 2523 7 มิถุนายน 2522
คณะที่ 42 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/1 3 มีนาคม 2523 30 เมษายน 2526 28 มีนาคม 2523
คณะที่ 43 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/2 30 เมษายน 2526 5 สิงหาคม 2529 20 พฤษภาคม 2526
คณะที่ 44 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 16/3 5 สิงหาคม 2529 4 สิงหาคม 2531 27 สิงหาคม 2529
คณะที่ 45 พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ 17/1 4 สิงหาคม 2531 9 ธันวาคม 2533 25 สิงหาคม 2531
คณะที่ 46 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 17/2 9 ธันวาคม 2533 23 กุมภาพันธ์ 2534 9 มกราคม 2534
ยึดอำนาจ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(พลเอก สุนทร คงสมพงษ์) - 24 กุมภาพันธ์ 2534 1 มีนาคม 2534 -
คณะที่ 47 นายอานันท์ ปันยารชุน 18/1 2 มีนาคม 2534 7 เมษายน 2535 4 เมษายน 2534
คณะที่ 48 พลเอก สุจินดา คราประยูร 19 7 เมษายน 2535 10 มิถุนายน 2535 6 พฤษภาคม 2535
คณะที่ 49 นายอานันท์ ปันยารชุน 18/2 10 มิถุนายน 2535 23 กันยายน 2535 22 มิถุนายน 2535
คณะที่ 50 นายชวน หลีกภัย 20/1 23 กันยายน 2535 13 กรกฎาคม 2538 21 ตุลาคม 2535
คณะที่ 51 นายบรรหาร ศิลปอาชา 21 13 กรกฎาคม 2538 25 พฤศจิกายน 2539 26 กรกฎาคม 2538
คณะที่ 52 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 22 25 พฤศจิกายน 2539 9 พฤศจิกายน 2540 11 ธันวาคม 2539
คณะที่ 53 นายชวน หลีกภัย 20/2 9 พฤศจิกายน 2540 17 กุมภาพันธ์ 2544 20 พฤศจิกายน 2540
คณะที่ 54 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร 23 /1 17 กุมภาพันธ์ 2544 11 มีนาคม 2548 26 กุมภาพันธ์ 2544
คณะที่ 55 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร 23/2 11 มีนาคม 2548 19 กันยายน 2549 23 มีนาคม 2548
ยึดอำนาจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) - 19 กันยายน 2549 1 ตุลาคม 2549 -
คณะที่ 56
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 24 8 ตุลาคม 2549 6 กุมภาพันธ์ 2551 3 พฤศจิกายน 2549
คณะที่ 57 นายสมัคร สุนทรเวช 25 6 กุมภาพันธ์ 2551 8 กันยายน 2551 18 กุมภาพันธ์ 2551
คณะที่ 58 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 26 24 กันยายน 2551 2 ธันวาคม 2551 7 ตุลาคม 2551
คณะที่ 59 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 27 20 ธันวาคม 2551 9 สิงหาคม 2554 30 ธันวาคม 2551
คณะที่ 60 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 28 9 สิงหาคม 2554 - 23 สิงหาคม 2554

ศาลยุติธรรมไทย

ประวัติศาลยุติธรรม


ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน
ทางด้าน
การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง
เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย
ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม
การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ
ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา
แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์
ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี
(พ.ศ.2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต
เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวง ยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม
ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่


กรุงสุโขทัย

ในสมัยนี้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดังคำพังเพยที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประชาชนพลเมืองมีน้อย
อยู่ในศีลในธรรมคดีความจึงมีไม่มาก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน
พระมหากษัตริย์จึงทรงตัดสินคดีความด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี
หลักฐานจากศิลาจารึกว่า
พระมหากษัตริย์ได้ทรงมอบให้ขุนนางตัดสินคดีแทนด้วย
ในสมัยนี้พอมีหลักฐานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก
กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้
ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก
เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม ไพร่ฟ้า
ลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้วจึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ
บ่อเข้าผู้ลักมักผู้ซ่อนเห็นข้าวท่านบ่อใคร่พิน
เห็นสินท่านบ่อใคร่เดือด” จากศิลาจารึกนี้ทำให้ทราบว่า
การร้องทุกข์ในสมัยนั้นร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง
และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง
หรือให้ขุนนางเป็นผู้ไต่สวนให้ถ่องแท้และตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม
ไม่ลำเอียงและไม่รับสินบน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญใน การพิจารณาคดีในสมัยนั้น
สำหรับสถานที่พิจารณาคดีที่เรียกว่า ศาลยุติธรรมนั้นในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีศาล
ตัดสินคดีเหมือนในสมัยนี้ แต่ก็มีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกว่า
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ ป่าตาลเป็นที่พิจารณาคดี
ซึ่งพอเทียบเคียงได้ว่าเป็นศาลยุติธรรมในสมัยนั้น “1214 ศก
ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้
ปลูกไม้ตาลนี้ได้ 14 เท่า
จึงให้ช่างฟันกระดาษเขียนตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนหก 8 วัน วันเดือนเต็มเดือนบั้ง ฝูงปู่ครูเถร
มหาเถรขึ้นนั่งเหนือกระดานหินสวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงถ้วยจำศีล ผิใช่วันสวดธรรม
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือกระดาษหิน
ให้ฝูงถ้วยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงถ้วยถือบ้านถือเมือง
ในกลางป่าตาลมีศาลา 2 อัน อันหนึ่งชื่อศาลพระมาส
อันหนึ่งชื่อพุทธศาลา กระดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาท” จากศิลาจารึกนี้พอเทียงเคียงได้ว่า ป่าตาลเป็นศาลยุติธรรม สมัยสุโขทัย
และพระแท่นมนังคศิลาบาทเป็นเสมือนบัลลังก์ศาลในสมัยนั้น
สำหรับกฎหมายที่ใช้ในสมัยสุโขทัยซึ่งปรากฎในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนั้น
มีลักษณะคล้ายกฎหมายในปัจจุบัน เช่น กฎหมายกรรมสิทธิ์ที่ดิน “หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้
ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”กฎหมายพาณิชย์ “ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงินค้า ค้าทองค้า
ไพร่ฟ้าหน้าใส” นอกจากนั้นแล้วในหลักศิลาจารึกยังกล่าวถึงกฎหมายลักษณะโจรและการลงโทษ เช่น
ขโมยข้าทาสของผู้อื่น “ผิผู้ใดหากละเมิน
และไว้ข้าท่านพ้น 3 วัน
คนผู้นั้นไซร้ท่านจะให้ไหมแลวันแลหมื่นพัน” นอกจากกฎหมายต่าง
ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกฎหมายปัจจุบันแล้ว ยังใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดียด้วย สำหรับการลงโทษในสมัยสุโขทัยตามหลักศิลาจารึก
กฎหมายลักษณะโจรมีโทษเพียง ปรับเท่านั้น ไม่มีหลักฐานการลงโทษที่รุนแรงถึงตาย
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์
ประชาชนมีไม่มากและเป็นผู้ที่เคร่งครัดอยู่ในศีลในธรรมตามหลักพุทธศาสนา
ประชาชนจึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
สมัยกรุงศรีอยุธยา


ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
บ้านเมืองก็เจริญขึ้นตามลำดับ ราษฎรก็เพิ่มมากขึ้น
ทำให้พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์มีมากขึ้น
จึงมิอาจทรงพระวินิจฉัยคดีความด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึงเช่นกาลก่อน
จึงทรงมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยอรรถคดีของอาณาประชาราษฎร์ให้แก่ ราชครู
ปุโรหิตา พฤฒาจารย์ ซึ่งเป็นมหาอำมาตย์พราหมณ์ในราชสำนักและเสนาบดีต่าง ๆ
เป็นผู้ว่าการยุติธรรมต่างพระเนตรพระกรรณ
ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจใกล้ชิดกับราษฎรเหมือนสมัยสุโขทัย
แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะดูเหมือนห่างไกลจากราษฎร
แต่ว่าบทบาททางด้านการยุติธรรมนั้นกลับดูใกล้ชิดกับราษฎรอย่างยิ่ง
โดยทรงเป็นที่พึงสุดท้ายของราษฎร
ถ้าราษฎรเห็นว่าตนไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดีก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา
เพื่อขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานความเป็นธรรมแก่ตนได้
ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรง
พระวิจารณญาณวินิจฉัยอรรถคดีใดด้วยพระองค์เอง
พระบรมราชวินิจฉัยในคดีนั้นก็เป็นบรรทัดฐานที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมพึงถือปฏิบัติสืบต่อมา
ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี 3 กลุ่มได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการ ผู้ปรับ
การพิจารณาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ผู้กล่าวหาหรือผู้ที่จะร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อจ่าศาลว่าจะฟ้องความอย่างไรบ้าง
จ่าศาลจะจดถ้อยคำลงในหนังสือแล้วส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงพิจารณาว่า
เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายควรรับไว้พิจารณาหรือไม่
ถ้าเห็นควรรับไว้พิจารณาจะพิจารณาต่อไปว่า
เป็นหน้าที่ของศาลกรมไหนแล้วส่งคำฟ้องและตัวโจทก์ไปยังศาลนั้น เช่น
ถ้าเป็นหน้าที่กรมนา จะส่งคำฟ้องและโจทก์ไปที่ศาลกรมนา
ตระลาการศาลกรมนาก็จะออกหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การไต่สวนเสร็จแล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุน
ณ ศาลหลวงว่ามีข้อใดต้องสืบพยานบ้าง เมื่อลูกขุนส่งกลับมาแล้ว
ตระลาการก็จะทำการสืบพยานเสร็จแล้วก็ทำสำนวนให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บมือที่ดินประจำผูกสำนวน
เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นสำนวนของโจทก์ จำเลย แล้วส่งสำนวนคดีไปให้ลูกขุน ณ
ศาลหลวง ลูกขุน ณ ศาลหลวงจะพิจารณาคดีแล้วชี้ว่าฝ่ายใดแพ้คดี
เพราะเหตุใดแล้วส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ปรับ
ผู้ปรับจะพลิกกฎหมายและกำหนดว่าจะลงโทษอย่างไรตามมาตราใด เสร็จแล้วส่งคืนให้กรมนา
ตระลาการกรมนาจะทำการปรับไหมหรือลงโทษตามคำพิพากษา หากคู่ความไม่พอใจตามคำพิพากษา
ก็สามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้น ๆ
ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้อีก
ศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมี 4 ศาลตามการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยเริ่มที่กรมวังก่อนแล้วจึงขยายไปยังที่กรมอื่น ๆ
ในตองกลางกรุงศรีอยุธยามีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นจึงมีศาลมากมายกระจายอยู่ตามกรมต่าง
ๆ ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกรมของตน
ในช่วงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยามีการรวมรวบกรมต่าง ๆ
ขึ้นเป็นกระทรวงจึงแบ่งศาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ศาลความอาญา ศาลความแพ่ง สองศาลนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัง
ชำระความคดีอาญาและคดีความแพ่งทั้งปวง ศาลนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล
ชำระความคดีโจรผู้ร้าย เสี้ยนหนามแผ่นดิน ทั่วไป ศาลการกระทรวง
ขึ้นอยู่กับกระทรวงอื่น ๆ ชำระคดีที่อยู่ในหน้าที่ของกระทรวงนั้น ๆ
ส่วนสถานที่พิจารณาคดีหรือที่ทำการของศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากศาลหลวงที่
ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว ศาลอื่น ๆ ไม่มีที่ทำการโดยเฉพาะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า
ที่ทำการของศาลหรือที่พิจารณาคดีคงใช้บ้านของตระลาการของศาลแต่ละคนเป็นที่ทำการ
สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงนั้นมีหลักฐานตามหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 63ว่าด้วยตำนานกรุงเก่ากล่าวว่า ศาลาลูกขุนนอก
คือศาลหลวงคงอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนัก คงจะอยู่มาทางใกล้กำแพงริมน้ำ
เนื่องจากเมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ
และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ ศาลหลวงคงถูกไฟไหม้เมือเสียกรุง
ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา มีสระน้ำอยู่ในศาลาลูกขุนใน
สระน้ำนี้ในจดหมายเหตุซึ่งอ้างว่าเป็นคำให้การของขุนหลวงหาวัด
ว่าเป็นที่สำหรับพิสูจน์คู่ความให้ดำน้ำในสระนั้น
เพื่อพิสูจน์ว่ากล่าวจริงหรือกล่าวเท็จ


กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา
แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ


1. พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายดั้งเดิมของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
เป็นหลักกฎหมายที่ลูกขุนฝ่ายในศาลหลวงจะต้องยึดถือปฏิบัติ และใช้ในการวินิจฉัยคดี
มีบทกำหนดลักษณะของตุลาการ ข้อพึงปฏิบัติของตุลาการ คำสั่งสอนตุลาการ


2. พระราชศาสตร์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ เช่น
การวินิจฉัยคดีที่ราษฎรฎีกา เป็นต้น
ซึ่งต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อมาจนกลายเป็นกฎหมาย


3. พระราชกฎหมาย กำหนดกฎหมายอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทรงตราขึ้นตามความเหมาะสม
และความจำเป็นของแต่ละสมัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก



การลงโทษผู้กระทำผิดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรุนแรงมากถึงขั้นประหารชีวิต
การประหารชีวิตโดยทั่วไป ใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ
แต่ถ้าเป็นคดีกบฎประหารชีวิตด้วยวิธีที่ทารุณมาก
การลงโทษหนักที่ไม่ถึงขั้นประหารชีวิตจะเป็นการลงโทษทางร่างกายให้เจ็บปวดทรมานโดยวิธีต่าง
ๆ เพื่อให้เข็ดหลาบ


สมัยกรุงธนบุรี


สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชภารกิจในการสงคราม
เพื่อกอบกู้เอกราชจากพม่าและการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นบึกแผ่น
ประกอบกับพระองค์ทรงครองราชย์เพียง 15 ปี
จึงมิได้เปลี่ยนแปลงระบบการยุติธรรมคงใช้กฎหมายและระบบศาลของกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมา


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


พระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัดแจ้งอีกครั้งว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระทัยที่จะประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม
ให้แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง
เมื่อนายบุญศรีช่างเหล็กหลวงได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า
ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีโดยอำแดงป้อมผู้เป็นภรรยาได้นอกใจทำชู้กับนายราชาอรรถและมาฟ้องหย่านายบุญศรีไม่ยอมหย่าให้
แต่ลูกขุนตัดสินให้หย่าได้ นายบุญศรีเห็นว่าตัดสินไม่เป็นธรรมจึงร้องทุกข์ถวายฎีกา
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสอบสวน
พบว่าลูกขุนตัดสินต้องตรงความกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า“ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าให้หญิงหย่าชายได้” พระองค์ทรงพระราชดำริว่า หลังจากเสียกรุงแก่พม่าแล้ว
มีการดัดแปลงแต่งเติมกฎหมายให้ฟั่นเฟือนวิปริต ขาดความยุติธรรม
สมควรที่จะชำระสะสางใหม่เพื่อให้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม
จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรวจสอบกฎหมายต่าง ๆ ให้ตรงตามพระธรรมศาสตร์
แล้วจัดเป็นหมวดหมู่
และเพื่อป้องกันการดัดแปลงแก้ไขจึงทรงโปรดให้จัดทำเป็น 3 ฉบับมีข้อความตรงกันแยกเก็บไว้ที่ห้องเครื่อง หอหลวง และศาลหลวง
แห่งละ 1 ฉบับแต่ละฉบับประทับตราเป็นสัญลักษณ์ 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเอาพระทัยใส่ในการพิจารณาคดีกับทรงห่วงใยในการดำเนินคดีต่ออาณาประชาราษฎร์
จึงทรงให้ขุนศาลตุลาการพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว
โดยการกำหนดขั้นตอนให้ปฏิบัติหากมีปัญหาให้นำความกราบบังคมทูล
พระมหากรุณาห้ามกดความของราษฎรให้เนิ่นช้าเป็นอันขาดพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ
ทรงมีพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งต่องานศาล และกระทรวงยุติธรรมดังจะกล่าวต่อไป
ในด้านการพิจารณาคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนตั้งกระทรวงยุติธรรมนั้น
หลักใหญ่ยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา
กฎหมายที่ใช้บังคับในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้
เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่รวบรวมใหม่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง
ซึ่งต่อมาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมและบัญญัติใหม่เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัยการบังคับใช้กฎหมายและระบบพิจารณาคดีแบบกรุงศรีอยุธยา
ในระยะแรกไม่มีปัญหา
แต่นานเข้ากรุงรัตนโกสินทร์มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ
สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปทำให้ระบบศาลในการพิจารณาคดีกับกฎหมายต่าง ๆ
ที่ใช้บังคับมาแต่โบราณไม่เหมาะสม เนื่องจากการพิจารณาไต่สวนคดีล้าสมัย เช่น
การทรมานให้รับสารภาพ และการลงโทษที่รุนแรงและทารุณต่าง ๆ
ปัญหานี้เริ่มชัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อชาวต่างประเทศขอทำสนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขตไม่ยอมขึ้นศาลไทย
เริ่มจากประเทศอังกฤษขอตั้งศาลกงสุลประเทศแรก
เพื่อพิจารณาคดีคนในบังคับของอังกฤษตกเป็นจำเลย ต่อมาชาติอื่น ๆ
ก็ขอตั้งศาลกงสุลของตนบ้าง เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส
ทำให้คนไทยต้องเสียเอกราชทางศาลบางส่วนไปเมื่อมีกรณีพิพาทกับชาวต่างประเทศ
มีผู้พิพากษาเป็นชาวต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำต้องปรับปรุงการศาลให้ทันสมัย
โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายมารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน
จัดตั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2425 (ร.ศ. 101) โปรดเกล้าให้จารึกเรื่องที่ทรงพระราชดำริให้สร้างศาลหลวงนี้ไว้ในหิรัญบัตรบรรจุหีบไว้ในแท่งศิลาใหญ่
ซึ่งเป็นศิลาปฐมฤกษ์ เพื่อให้เป็นสิ่งสำคัญประจำศาลสืบไปภายหน้า
ขอให้ธรรมเนียมยุติธรรมนี้จงเจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาลสมดังพระบรมราชประสงค์ โดยสุจริตศาลสถิตย์ยุติธรรมนี้เป็นที่ประชุมของลูกขุนตระลาการ
ขุนศาลทุกกระทรวง และกำหนดให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่พิจารณาคดี
ีและศาลยุติธรรมอยู่ฝ่ายเดียวมิให้เกี่ยวกับราชการอื่น
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษากฎหมายต่าง ๆ
ทั้งเก่าและใหม่ทุกประเภทให้อยู่ในที่เดียวกัน
เพื่อจะให้สอบสวนง่ายทำให้คดีเสร็จเร็วขึ้น


ต่อมา 1 ปีประเทศอังกฤษยอมผ่อนปรนเอกราชทางการศาลกับไทย
โดยยอมให้ตั้งศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นเป็นแห่งแรก ศาลนี้ประกอบด้วย
ผู้พิพากษาไทย
และกงสุลอังกฤษนั่งร่วมกันพิจารณาคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความกันเอง
หรือคนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน
แต่อังกฤษก็ยังสงวนสิทธิที่จะถอนคดีไปให้ศาลกงสุลอังกฤษพิจารณาคดีเอง


ต่อมาปี
พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น
เพื่อรวบรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ
ให้มารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันคือกระทรวงยุติธรรม
โดยใช้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นที่ทำการ โดยเริ่มจากการรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ
ก่อนทำให้ศาลในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยมีถึง 16 ศาลเหลือเพียง 7 ศาล ครั้นรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ
ให้สังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2439 ได้รวบรวมศาลหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป็นศาลมณฑลสังกัดกระทรวงยุติธรรม
โดยเริ่มจากตั้งศาลมณฑลกรุงเก่าเป็นแห่งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัถยาในพระราชวังจันทร์เกษมเป็นที่ทำการ
หลังจากนั้นได้ตั้งศาลมณฑลอื่น ๆ ตลอดราชอาณาจักร
ศาลหัวเมืองในขณะนั้นมี 3 ประเภท คือ ศาลมณฑล ศาลเมือง
และศาลแขวง เมื่อสถาปนากระทรวงยุติธรรมและจัดระเบียบการตั้งศาลหัวเมืองแล้ว
ได้มีการปฏิรูปศาลให้ทันสมัยมากมาย เช่น
ดำเนินการแยกอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการออกจากกัน
โดยให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก
ส่วนหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา
ปรับปรุงระบบการพิจารณาคดี การสืบพยานให้รวดเร็วและทันสมัย
เปลี่ยนโทษเฆี่ยนตีมาเป็นโทษจำขังแทน เลิกวิธีพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล
ร.ศ. 115 โดยยกเลิกวิธีทรมานต่าง ๆ ให้รับสารภาพ
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบศาลต่าง ๆ อีกหลายประการ
นับว่าการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมก่อให้เกิดการพัฒนาทางศาลอย่างมากมาย
ภายหลังจากการตั้งกระทรวงยุติธรรม 1 ปีก็ยกเลิกศาลกรมกองตระเวน ตั้งใหม่เป็นศาลโปริสภา
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดศาลแขวงต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับพิจารณาคดีเล็ก ๆ
น้อยสำหรับประชาชน 4 จังหวัดภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา
นราธิวาส และสตูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับในคดีครอบครับและมรดก
สำหรับอิสลามศาสนิกที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดดังกล่าว
มีดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้พิพากษาร่วมด้วยซึ่งเป็นการขยายความยุติธรรมให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นและยังถือเปฏิบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้


พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก และอิตาลี
ยินยอมให้คนในบังคับของตนที่อยู่ในภาคเหนือขึ้นศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ทำนองเดียวกับ
ประเทศอังกฤษ


พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญายินยอมให้คนในบังคับของฝรั่งเศสที่เป็นชาวเอเชียขึ้นศาลต่างประเทศทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
เมื่อประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เมื่อ
พ.ศ. 2451 อันเป็นประมวลกฎหมายระบบสากลฉบับแรกของไทย
หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ
ได้ทยอยทำสนธิสัญญาคืนอำนาจศาลให้ไทยโดยให้คนในบังคับของตนขึ้นศาลไทย


ต่อมาปี
พ.ศ. 2455 จึงมีการแยกอำนาจตุลาการออกจากกระทรวงยุติธรรมตามระเบียบจัดราชการกระทรวงยุติธรรม
ร.ศ.131 ซึ่งกำหนดให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายธุรการของกระทรวงยุติธรรมอย่างเดียว
ส่วนอธิบดีศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ การโยกย้าย
และเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษา
และวินิจฉัยข้อกฎหมายอันเป็นหลักที่ยึดถือจนถึงปัจจุบัน


พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนศาลเมืองเป็นศาลจังหวัด
เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองกระทรวงมหาดไทยที่เปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย
ฮังการี


ในปี
พ.ศ. 2457 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม
ไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนจากเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในปี
พ.ศ. 2462 ส่วนประเทศพันธมิตรที่ร่วมชนะสงคราม
ก็ได้รับรองเอกราชทางการศาลไทยด้วย
ในช่วงนี้นับว่าไทยได้รับเอกราชทางการศาลเกือบสมบูรณ์
นอกจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็ยังให้สนธิสัญญาว่า
หากประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี
และกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมครบถ้วนแล้วจะให้เอกราชทางการศาลไทยโดยสมบูรณ์ภายใน 5 ปี ในขณะนั้นประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อยู่หนึ่งฉบับ และได้รีบเร่งร่างกฎหมายที่เหลืออีก 3 ฉบับ


พ.ศ. 2475 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย
การดำเนินการในเรื่องเอกราชทางการศาลได้กระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง
พ.ศ. 2478 จึงได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


พ.ศ. 2477 ครบถ้วนเป็นฉบับสุดท้าย


พ.ศ. 2481 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประเทศต่าง ๆ
จึงได้ยกเลิกสนธิสัญญาโดยให้เอกราชทางการศาลไทยจนหมดสิ้นซึ่งเร็วกว่ากำหนด 2 ปี พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนศาลมณฑลเป็นศาลจังหวัด และเรียกศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมว่า
ศาลยุติธรรม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์
และศาลชั้นต้น


ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลขึ้นอีกหลายศาล กล่าวคือ พ.ศ. 2495 จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางที่กรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก
และต่อมาได้ขยายไปต่างจังหวัดด้วย


พ.ศ. 2523 จัดตั้งศาลแรงงานในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2525 จัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนย่านฝั่งธนบุรี


พ.ศ. 2529 จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2535 เปลี่ยนแปลงศาลคดีเด็กและเยาวชนเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว
เพื่อขยายการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในปี
พ.ศ. 2535 เป็นวาระครบ 100 ปี
กระทรวงยุติธรรม มีศาลสังกัดกระทรวงยุติธรรมดังนี้

ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร
และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้

ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น
ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง
และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่
ศาลจังหวัด ศาลแขวง
และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว
ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบ คู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศใน ปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม
ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่
และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น
จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ
เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง
เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน
พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ
เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น
กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา
เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง
จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา
เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4หน่วยงาน
การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การ ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม
อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม
ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม
จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี




สถาบันหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่องานศาลและกระทรวงยุติธรรม คือ
องค์พระมหากษัตริย์
อันเป็นต้นกำเนิดของศาลยุติธรรมและมีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบศาลและงานยุติธรรม
ดังที่ทราบกันมาแล้วแม้ในระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว
องค์พระมหากษัตริย์ยังทรงให้ความสำคัญต่องานยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่าบูรพกษัตริย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
แม้จะมีพระชนม์น้อยแต่ทรงสนพระทัยในกิจการศาลเป็นอันมาก
ทรงเสด็จเหยียบศาลหัวเมือง 2 ครั้ง
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดนครปฐม และครั้งที่ 2วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ณ
ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา การเสด็จเหยียบศาลถึง 2 ครั้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จประทับบัลลังก์ร่วมกับพระอนุชา
ในการพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา
คดีที่ทรงเป็นประธานในการพิจารณาพิพากษาทั้ง 2 ครั้ง
เป็นคดีลักทรัพย์ซึ่งจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน
ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษตามพระบรมราชวินิจฉัย เป็นผลให้จำเลยทั้ง 2 คดีมีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป
เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการศาลยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน
ดังกระแสพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเหยียบกระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรม
นับตั้งแต่เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม
พ.ศ. 2495 “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ที่ท่านทั้งหลายได้มีไมตรีจิตมาร่วมชุมนุมต้อนรับข้าพเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกัน
การศาลยุติธรรมมีความสำคัญยิ่งประการหนึ่ง
เพราะเป็นหลักประกันความปลอดภัยและความเที่ยงธรรมของคนทั้งประเทศ
และเป็นอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ
ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อมีความยุติธรรมสม่ำเสมอเป็นหลักอันคนทั้งปวงพึงยึดถือเป็นที่พึ่งได้เนืองนิจ
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะได้ช่วยเหลือส่งเสริมให้การประสาทความยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองสมควรแก่กาลสมัย
ข้าพเจ้ามีความพอใจในประวัติของกระทรวงยุติธรรมและชื่อเสียงของศาลยุติธรรมที่ได้เป็นมา
และความสามัคคีกลมเกลียวเป็นสมานฉันท์ของบรรดาข้าราชการกระทรวงยุติธรรม” ศาลยุติธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศและด้วยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์
ทำให้ศาลในพระปรมาภิไธยมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
ทำให้สามารถประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ยิ่งกว่านั้นในคดีอาญา
เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วผู้ต้องคำพิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องยังมีโอกาสสุดท้ายที่จะยื่นเรื่องราวต่อองค์พระมหากษัตริย์
เพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษได้อีก
องค์พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้อำนวยความยุติธรรม
และเป็นที่พึงสุดท้ายของประชาชนอย่างแท้จริงสืบมาแต่โบราณกาล

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน


ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง
การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน
รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน


ความหมาย
ของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ
โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด
เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร


โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง
ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ




1. การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
(Centralization)




2. การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง
(Decentralization)






การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
(Centralization)


หมายถึง
การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง
พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและ บังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนด ขึ้น
เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด
เป็นต้น




การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง
(Decentralization)


หมายถึง การจัดระเบียบการ
ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้น ดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชา ใด

นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น
เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร
หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น


กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย
ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ
ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ
ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน
เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การ บริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาล กำหนดได้ดี


ดังนั้น
รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้


ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ
กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน
เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ


กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่
ขนบธรรม-เนียมการปกครอง
รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ




1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง




2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค




3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น




การบริหารราชการส่วนกลาง


การ บริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้




1. สำนักนายกรัฐมนตรี




2. กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า
กระทรวง




3. ทบวง
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง




4. กรม
หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม
ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง


การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น
พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล


ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข
และกระทรวงอุตสาหกรรม


สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง
อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี
ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น
ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี
หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ
ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ


สำนัก นายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของ สำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี
และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ ได้


กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด
รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย
และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง
จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง


กระทรวง หนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบาย ของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของกระทรวง
และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี
โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน
การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้




(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี




(2) สำนักงานปลัดกระทรวง




(3) กรม
หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้


ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า
กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า
ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง
ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วย ว่าการทบวงและมีปลัดทบวง
ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้




(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี




(2) สำนักงานปลัดทบวง




(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2)
(3) มีฐานะเป็น กรม


กรม หมายถึง
เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา
ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้




(1) สำนักงานเลขานุการกรม




(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง
เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้


กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก
(1) หรือ (2) ก็ได้
โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง
หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น


กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม
ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ
การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะ รัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง


ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง
มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง
สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม


การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต
การอนุมัติการปฏิบัติราชการ
หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย
ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้
ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น
ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง




1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี




2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง
อธิบดี
ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะมอบต่อในจังหวัด
อำเภอก็ได้


การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ
ตัวอย่าง




1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน




2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ
ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน




3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี
ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น






การบริหารราชการส่วนภูมิภาค


การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง
โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง
ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ
ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมี การติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจาก การบริหารส่วนกลาง


การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค
อันได้แก่จังหวัด
มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง


ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง
การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย
สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค
เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่อง การแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจ สอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้


ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง



การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
จัดแบ่งออกได้ดังนี้


1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด
มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง
ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด
ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ


ในจังหวัดหนึ่ง ๆ
มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม
มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดใน บรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด
ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย


ผู้ว่าราชการจังหวัด
มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด
อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด
รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด
แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ
เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง
และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด
และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ


ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้




(1) สำนักงานจังหวัด
มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด




(2) ส่วนต่าง ๆ
ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง
กรมนั้นๆ
มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ


2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด
แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ
กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา
มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ
และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง
ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ
มีดังนี้




(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ
มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ




(2) ส่วนต่าง ๆ
ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง
ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ
เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ






การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น


การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง
กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง
เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ
โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน


อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ
เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง
เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง
และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า
เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น


การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้




1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด




2. เทศบาล




3. สุขาภิบาล




4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่
สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา




องค์การบริหารส่วนจังหวัด


เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล
มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด
ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง


องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย




1. สภาจังหวัด




2. ผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด




เทศบาล


เป็นองค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น
ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น ๆ
เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น


1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ
แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ


2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่
หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร


3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป
และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ
เทศบาลนครเชียงใหม่


องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย


1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี


2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า
การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี
ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล


3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล
โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล


องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ
หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดย ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้


อบต.
ประกอบด้วย




1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน
ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน




2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน
ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร


อบต.
มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้




(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก




(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ
ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล




(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ




(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย




(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม




(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน
ผู้สูงอายุและผู้พิการ




(7) คุ้มครอง
ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย


การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ


นอกเหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปที่กล่าวมาแล้ว
รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง
ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ




1. การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร




2. การบริหารราชการเมืองพัทยา




การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร


พ.ร.บ.
ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย




1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร




2. สภากรุงเทพมหานคร


ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร
มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร
และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง
และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร


สภา กทม.
ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม.
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน
โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน


ปลัดกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร




การบริหารราชการเมืองพัทยา


จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา
พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล
ประกอบด้วย


สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา
จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา
สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน
และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา


ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา
ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน

รัฐสภาไทย

รัฐสภาไทย



รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ
ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา
ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน
ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา
และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง

ประวัติรัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70
คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณพระที่นั่งอนันตสมาคม
และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา


ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า
เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน
จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน
แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน

ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ
เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป
และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม
ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย

สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513
โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ


หลังที่ 1
เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร
และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา
ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง


หลังที่ 2
เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา


หลังที่ 3
เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา


สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา
ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517
สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ
ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ
และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา


ประธานรัฐสภาไทย




การประชุมรัฐสภาไทย
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม สมัย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงปัจจุบัน รัฐสภาไทย
มีผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา รวม 28 คน ดังนี้


1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
28 มิถุนายน- 1 กันยายน 2475
15 ธันวาคม 2475 - 26 กุมภาพันธ์ 2476
2. เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
2 กันยายน 2475 - 10 ธันวาคม 2476
3. พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราญฏร
26 กุมภาพันธ์ 2476 - 22 กันยายน 2477
6 กรกฎาคม 2486 -24 มิถุนายน 2487
ประธานรัฐสภาและประธานพฤฒสภา
31 สิงหาคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2490
15 พฤษภาคม 2490 - 8 พฤศจิกายน 2490
4. เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)
ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราญฏร
22 กันยายน 2477 - 15 ธันวาคม 2477
17 ธันวาคม 2477 - 31 กรกฎาคม 2478
7 สิงหาคม 2478 - 31 กรกฎาคม 2479
ประธานรัฐสภาและประธานวุฒิสภา
26 พฤศจิกายน 2490 - 18 กุมภาพันธ์ 2491
20 กุมภาพันธ์ 2491 - 14 มิถุนายน 2492
15 มิถุยายน 2492 - 20 พศจิกายน 2493
22 พฤศจิกายน 2493 - 29 พฤศจิกายน 2494
5. พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
3 สิงหาคม 2479 - 10 ธันวาคม 2480
10 ธันวาคม 2480 -24 มิถุนายน 2481
28 มิถุยายน 2481 - 10 ธันวามคม 2481
12 ธันวาคม 2481 - 24 มิถุนายน 2482
28 มิถุนายน 2482 - 24 มิถุนายน 2483
1 กรกฎาคม 2483 - 24 มิถุนายน 2484
30 มิถุนายน 2485 - 24 มิถุนายน 2586
2 กรกฎาคม 2487 - 24 มิถุนายน 2488
29 มิถุนายน 2488 - 15 ตุลาคม 2488
26 มกราคม 2489 - 9 พฤษภาคม 2489
6.พันตรีวิลาศ โอสถานนท์ ประธานรัฐสภา และประธานพฤฒสภา
4 มิถุนายน 2489 - 24 สิงหาคม 2489
7. พลเอกพระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก) ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราญฏร
1 ธันวาคม 2494 - 17 มีนาคม 2495
22 มีนาคม 2495 - 23 มิถุนายน 2495
28 มิถุนายน2495 -23 มิถุนายน 2496
2 กรกฎาคม 2496 - 23 มิถุนายน 2497
29 มิถุนายน 2497 - 23 มิถุนายน 2498
2 กรกกาคม 2498 - 23 มิถุนายน 2499
30 มิถุนายน 2499 - 25 กุมภาพันธ์ 2500
16 มีนาคม 2500 - 23 มิถุนายน 2500
28 มิถุนายน 2500 - 16 กันยายน 2500


27 ธันวาคม
2500 - 23 มิถุนายน 2501


25 มิถุนายน
2501 - 20 ตุลาคม 2501


8. พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร
(สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)


ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราญฏร


20 กันยายน
2500 - 14 ธันวาคม 2500


ประธานรัฐสภา
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ


6 กุมภาพันธ์
2502 - 17 เมษายน 2511


9. นายทวี บุณยเกตุ ประธานรัฐสภา
และประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ


8
พฤษภาคม2511 -20 มิถุนายน 2511


10. พันเอก
นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา


22 กรกฎาคม
2511 - 6 กรกฎาคม 2514


7 กรกฎาคม
2514 - 17 พฤศจิกายน 2514


11.
พลตรีศิริ สิริโยธิน ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


18 ธันวามคม
2515 - 11 ธันวาคม 2516


12. พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประธานรัฐสภา
และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


29 ธันวาคม
2516 -7 ตุลาคม 2517


13.
นายประภาศน์ อวยชัย ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


17 ตุลาคม
2517 - 25 มกราคม 2518


14. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร


7 กุมภาพันธ์
2518 -12 มกราคม 2519


15. นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราญฏร


19 เมษายน
2519 - 6 ตุลาคม 2519


6 กุมภาพันธ์
2544 - 5 มกราคม 2548


16.
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
ทำหน้าที่ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและประธานรัฐสภา


22 ตุลาคม
2519 - 20 พฤศจิกายน 2519


17.
พลอากาศเอก หะริน หุงสกุล


ประธานรัฐสภา
และประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน


28 พฤศจิกายน
2519 - 20 ตุลาคม 2520


ประธานรัฐสภา
และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


25 พฤศจิกายน
2520 - 22 เมษายน 2522


ประธานรัฐสภา
และประธานวุฒิสภา


9 พฤษภาคม
2522 - 19 มีนาคม 2526


18.
นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา


26 เมษายน
2526 - 19 มีนาคม 2527


19. ศาสตราจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน


ประธานรัฐสภา
และประธานวุฒิสภา


30 เมษายน
2527 - 30 เมษายน 2528


1 พฤษภาคม
2528 - 23 เมษายน 2530


24 เมษายน
2530 - 22 เมษายน 2532


3 เมษายน
2335 - 26 พฤษภาคม 2535


ประธานรัฐสภา
และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


2 เมษายน
2534 - 21 มีนาคม 2535


20. ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ ประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา


4 พฤษภาคม
2532 - 23 กุมภาพันธ์ 2534


21. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานรัฐสภา
และประธานวุฒิสภา


28 มิถุนายน
2535 - 29 มิถุนายน 2535


22. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


22 กันยายน
2535 - 19 พฤษภาคม 2538


23. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


11 กรกฎาคม
2538 27 กันยายน 2538


24. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


24 พฤศจิกายน
2539 - 27 มิถุนายน 2543


25. นายพิชัย รัตตกุล ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


30 มิถุนายน
2543 - 9 พฤศจิกายน 2543


26. นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


8 มีนาคม 2548
- 24 กุมภาพันธ์ 2549


27. นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


23 มกราคม
2551 - เมษายน 2551


28. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา
และประธานสภาผู้แทนราษฏร


15 พฤษภาคม
2551 - (ปัจจุบัน)


อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ม่ถึง4 ครั้ง ก็ต้องระงับไป 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งเสียก่อน


ในครั้งที่ 4
แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ
เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป
อีกทั้งยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม
ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ใช้งบประมาณ 51,027,360 บาท จากนั้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเป็นเงิน 12,000 ล้านบาท
เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนเนื้อที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต
และทำการคัดเลือกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ไปตั้งแต่ปลายปี 2552 แล้วนั้นล่าสุดวันที่
4 สิงหาคม นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร
แถลงถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
โดยระบุว่าขณะนี้การเตรียมการทุกอย่างดำเนินการไปเกือบ 90% โดยใช้งบประมาณราว 4,000-5,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบ
และตอนนี้อยู่ระหว่างการออกแบบในรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยให้ได้ประโยชน์ สูง สุด 3
แสนตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี 2553 และเปิดประมูลได้ในต้นปี 2554
ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่จะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดใช้ได้ภายในปี 2556
โดยใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง
หรืออาจจะเร็วกว่านั้นขณะเดียวกัน ก็ระบุว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่
ได้มีหมายวางศิลาฤกษ์แล้ว โดยคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบตั้งแต่ปี 2552 สมัยรัฐบาล
นายสมัคร สุนทรเวช และที่สำคัญได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2554
และได้รับต่อเนื่องในปี 2555-57 ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท
จึงเชื่อว่าการก่อสร้างจะเรียบร้อยไม่มีปัญหา
ที่สำคัญได้กราบบังคมถวายคืนอาคารรัฐสภาปัจจุบันแล้วสำหรับรูปแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่นั้น
เป็นผลงานการออกแบบของกลุ่ม นายธีรพล นิยม ชื่อ “สัปปายะสภาสถาน”
โดยคำว่า สัปปายะ แปลว่า สบาย ในทางธรรม หมายถึงสถานที่ประกอบกรรมดี
ดังนั้น จึงออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมไทย
และนำหลักการสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติมาเป็นแรงบันดาลใจออกแบบ
ทำให้มีอาคารเครื่องยอดสถาปัตยกรรมไทยอยู่ตรงกลางอาคารหลัก
เพื่อชูสัญลักษณ์ความเป็นไทย มีการอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากรัฐสภาเก่าไว้บนยอด
และใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นจุดเด่นรวม
ถึงมีสนามหญ้าสีเขียวแลดูรื่นรมย์อยู่ด้านหน้า เปิดกว้างปราศจากกำแพงกลางกั้น
มีเพียงสายน้ำกั้นกลาง เพื่อเปิดกว้างระหว่างประชาชนกับสมาชิกสภา
มีพิพิธภัณฑ์ประชาธิปไตยสุดอลังการอยู่ชั้นบนสุด มีกำแพงแก้ว หรือ
พิพิธภัณฑ์ชาติไทย เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้ได้ มีโถงรับรอง ส.ส. ส.ว. โถงรัฐพิธี
มีห้องพระสุริยัน (ห้องประชุม ส.ส.) ห้องพระจันทรา (ห้องประชุม ส.ว.)
และมีลานประชาชน ลานประชาธิปไตยขนาดใหญ่
เพื่อเอาไว้รองรับประชาชนที่ต้องการแสดงออกซึ่งสิทธิตามหลักประชาธิปไตย เป็นต้น









ประวัติการ กบฏ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้วการทำรัฐประหาร คือ การใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมากหากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จจะเรียกว่า'กบฏ'
จากพ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้งทั้งที่เป็นการปฏิวัติและเป็นกบฏมีดังนี้

พ.ศ. เหตุการณ์หัวหน้าก่อการรัฐบาล2475ปฏิวัติ 24 มิถุนายน
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ2476 รัฐประหาร
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
2476
กบฎบวรเดช
พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2478
กบฎนายสิบ
ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2481
กบฎพระยาสุรเดช
พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา
2490
รัฐประหาร
พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
2491
กบฎแบ่งแยกดินแดน
ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์
2491
รัฐประหาร
คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์
2491
กบฏเสนาธิการ
พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2492
กบฎวังหลวง
นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494
กบฎแมนฮัตตัน
น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2494
รัฐประหาร
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2497
กบฎสันติภาพ
นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2500
รัฐประหาร
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2501
รัฐประหาร
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร
2514
รัฐประหาร
จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร
2516 ปฏิวัติ
14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร 2519
รัฐประหาร
พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
2520 กบฎ
26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2520
รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
2524 กบฎ 1
เมษายน
พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
2528 การก่อความไม่สงบ
9กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2534
รัฐประหาร
พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ * คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก
เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ
รูปขจร ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (
2475 - 2534)








เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)







กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

1. ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
2. ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
3. ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
4. ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
5. ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
6. ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
7. ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดจาก
เมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไป
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ
จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไป
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมาก
เสือป่าในกองนั้น ส่วนมากก็คือราชการในพระราชสำนัก เป็นกองที่ทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิด จนคนภายนอกที่ไม่ได้เข้า หรือเข้าไม่ได้ ต่างพากันคิดผิดไป จนเกิดความริษยา ในขั้นแรกที่ว่าการเสือป่าในกรุงเทพฯ ก็โปรดปรานให้มีสโมสรเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จที่สโมสรเสือป่าเกือบทุกวัน เพื่อทอดพระเนตรการฝึก สำหรับสโมสรเสือป่านั้น เสื่อป่าทุกชั้น จนถึงพลเสือป่าถึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ข้าราชการและคนอื่นๆ จึงนิยมสมัครเข้าเป็นเสือป่า แต่ผู้ที่เป็นทหารประจำการอยู่แล้ว เข้าไปในสโมสรเสือป่าไม่ได้ ก็เกิดมีความเสียใจว่า ทหารถูกกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าอยู่หัว จึงอยากจะเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่าบ้าง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ และเพราะน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา จึงโปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนั้นได้ โดยต้องสมัครเป็นเสือป่าด้วย เพราะการเป็นนายทหารสัญญาบัตร มิได้หมายความว่าเป็นนายเสือป่าสัญญาบัตรด้วย จึงเกิดเป็นภาพที่ออกจะแปลก เมื่อนายทหารสัญญาบัตร ถึงชั้นอาวุโสในกองทัพบก ทัพเรือ ในตอนเย็นกลับกลายเป็นพลเสือป่าไปฝึกอยู่ที่หน้าสโมสร พระราชวงศ์ถวายการสนับสนุนเรื่องกองเสือป่าเป็นอย่างดี และมักจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมเสื่อป่ารักษาดินแดนมณฑล เช่นทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ทรงเป็นนายกกองเอกพิเศษ ของกองรักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก ทูลกระหม่อมบริพัตร เป็นของมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นในตอนต้นๆ ก็ไม่ทำให้ทหารเลิกรังเกียจเสือป่าได้
แต่ความไม่พอใจของทหาร หนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ
1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง
2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง
3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง
4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก
5) ทหารถูกเหยียดหยาม
6) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ
7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร
8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่
9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก
10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง
11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง
12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร
13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก
14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส
15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง
16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง
17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง
ภาพ:คณะปฎิวัติ_ร.ศ._130.JPG
คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130
บุคคล คณะนี้ เป็นนายทหารที่รักความก้าวหน้า และปรารถนาที่จะให้ประเทศชาติมีการปกครองเช่นเดียวกับจีนและญี่ปุ่น และต้องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย บุคคลที่เป็นหัวหน้าคิดการใหญ่ครั้งนี้คือ ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์ ) นายแพทย์ประจำโรงเรียนนายร้อยทหารบก และยังเป็นนายแพทย์ประจำพระองค์ เสด็จในกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เป็นหัวหน้าดำเนินการและริเริ่ม พร้อมด้วย ร.ต. จรูญ ษตะเมษ ซึ่งเป็นนายทหารสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อย ประจำการอยู่ที่กรมทหารราบที่ 12 มณฑลนครไชยศรี
นายทหารทั้งสองนี่ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะให้ประเทศมีการปกครองตนเอง เปลี่ยนแปลงระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จะนำเอาแบบอย่างนานาอารยะประเทศมาใช้ จะปรับปรุงการศึกษา และการทหารเสียใหม่ จะให้สิทธิและเสรีภาพ เสมอภาค ภารดรภาพ ให้มีรัฐธรรมนูญ ให้มีรัฐสภา ให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้ง ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย ที่กระทำกันอยู่ในยุโรปขณะนั้น
เมื่อเกิดปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นนี้ ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกณฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น ได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้
ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติ ได้ใช้ดุลยพินิจอย่างหนักหน่วง ที่จะพยายามเลือกเฟ้นหาบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะที่จะเป็นผู้นำ และบุคคลที่จะเป็นผู้นำนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มีความคิดเห็นเป็นประชาธิปไตย และเด็ดขาด มีอุดมการณ์แน่วแน่ มีมโนธรรมสูง มีจิตใจเป็นมนุษยธรรม เห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และควรได้รับความเคารพจากทหารทุกชั้น ต่างก็ลงความเห็นร่วมกันว่า ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นทั้งนายแพทย์และนักรบ จากนักเรียนนายร้อยสำรอง ซึ่งเคยผ่านงานมาแล้วเป็นอย่างดี ทั้งกำลังจะเป็นแพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ฯ และหม่อมแคทรีน พระชายา ตลอดจนครอบครัวในพระองค์ท่านด้วย
ในการที่มีผู้เสนอ ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัตินั้น นับว่าเป็นความคิดเห็นที่ถูกต้อง เพราะร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ก็มีความเห็นเป็นทำนองเดียวกันว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรจะเปลี่ยนการปกครองเสียใหม่ เพื่อก้าวให้ทันเทียบกับนานาประเทศ และเพื่อนบ้าน และอีกทั้งในพระราชสำนักนั้น ก็เต็มไปด้วยความฟุ้งเฟ้ออันไร้สาระ ประเทศอยู่ในภาวะฝืดเคือง ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นไปในทำนองนั้นต่อไปอีก ไม่ทราบว่า บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรในอนาคต
นอกจากจะมีทรรศนะไปในทาง เดียวกันแล้ว ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ยังเป็นบุคคลเด็ดขาด เข้มแข็ง สุภาพอ่อนโยน และเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ โอบอ้อมอารี อันเป็นนิสัยของแพทย์ทั่วไป และเพื่อเป็นการจูงใจให้นายทหารและนักเรียนนายร้อยทหารบกเข้ามาร่วมกำลังได้ โดยง่าย จึงเห็นเป็นการสมควรยกย่องให้ ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะปฎิวัติ และท่านก็ยอมรับเป็นหัวหน้าโดยทันทีทันใด เพราะท่านก็มีความปรารถนา ในทำนองนั้นอยู่แล้ว
วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ.2454 (ร.ศ. 130) ที่ศาลาพักร้อนภายในบริเวณบ้าน ร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ ถนนสาธร ได้มีการประชุมปรึกษาหารือในการปฎิวัติกันเป็นครั้งแรก และเรียกคณะของตนว่า "คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130" ในการริเริ่มครั้งนี้มีเพียง 7 คนเท่านั้น คือ

1. ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์
2. ร้อยตรี เหรียญ ศรีจันทร์
3. ร้อยตรี จรูญ ษตะเมษ
4. ร้อยตรี เนตร พูนวิวัฒน์
5. ร้อนตรี ปลั่ง บูรณโชติ
6. ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
7. ร้อยตรี เขียน อุทัยกุล

การประชุมวางแผนโค่น ล้มราชบัลลังก์ ครั้งแรกนี้พอสรุปได้ผลว่า จะต้องเปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ก็มีสมาชิกบางคนที่หัวรุนแรงเห็นว่า ควรให้เป็นมหาชนรัฐอย่างจีนและสหรัฐฯ บางคนก็ไม่ต้องการให้รุนแรงขนาดนั้น เอาแต่เพียงว่า ขอให้องค์พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นก็ เพียงพอ และได้มีการถกถึงปัญหานี้อย่างกว้างขวาง จนหาข้อสรุปมิได้ จนในที่สุดก็ได้ตกลงกันว่า ขอให้ทุกคนช่วยกันแสวงหาพรรคพวกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ไปพลางก่อน และในตอนท้ายได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า ให้รักษาความลับเรื่องนี้ไว้อย่างสุดชีวิต
การประชุมครั้งที่สอง ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง ณ ที่เดิม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2454 คราวนี้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน โดยมีสมาชิกใหม่ 13 คน คือ

1. พันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตะเวช)
2. ร้อยโท จรูญ ณ บางช้าง
3. ร้อยโท เจือ ควกุล นายทหารเสนาธิการทหารบกที่1
4. ร้อยโท ทองดำ คล้ายโอภาส นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก
5. ร้อยตรี บ๋วย บุณยรัตพันธ์
6. ร้อยตรี ทวน เธียรพิทักษ์
7. ร้อยตรี สอน วงค์โต
8. ร้อยตรี สนิท
9. นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา
10. ร้อยตรี โกย วรรณกุล
11. ร้อยตรี ปาน สุนทรจันทร์ (พระวิเศษโยธาบาล)
12. ร้อยตรี ช้อย
13. พ.ต. หลวงชัยพิทักษ์ นายทหารช่างที่1

การประชุมครั้งที่ สองนี้ มีร้อยเอก ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ เป็นประธาน โดยพันตรี นายแพทย์ หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ ได้เสนอญัตติเป็นเรื่องพิเศษในที่ประชุมว่า การคิดปฎิวัติครั้งนี้ เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องความเป็นความตาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอให้สมาชิกได้แสดงความสัตย์ต่อกัน ว่าจะไม่คิดทรยศหักหลังกันเอง ขอให้สมาชิกทุกคนให้สัตยาบันว่า จะซื่อสัตย์ต่อกันทุกเมื่อ ทุกโอกาส ทุกนาที โดยยอมพลีชีวิตเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง มิหวังผลอันมิชอบเพื่อการส่วนตัวด้วยประการทั้งปวง
ครั้นแล้วพิธีสาบานปฎิญาณ ตนว่า จะซื่อตรงต่อกันจนวันสุดท้ายก็เริ่มขึ้น โดยสมาชิกคณะปฎิวัติได้ให้สัตย์ปฎิญาณพร้อมกันว่า.....
" เราทั้งหลายเป็นผู้ก่อการด้วยกัน ต่างก็ได้คำนึงกันอยู่แล้วว่า ผลสำเร็จที่สุดนั้น ย่อมเป็นการยากมาก เพราะได้เห็นผลของการปฎิวัติมามากต่อมากนักแล้ว ซึ่งส่วนมากหากเป็นประเทศอื่นก็ดี เมื่อปรากฎว่ามีการปฎิวัติขึ้น คณะผู้ก่อการครั้งแรกนั้นมักจะถูกจับกุม หรือไม่ก็ได้รับการทรมาน และถูกประหารชีวิตเสียก่อนงานจะสำเร็จ โดยมากมักจะเป็นอยู่เช่นนี้ แต่จะอย่างไรก็ดี แม้ว่าพวกปฎิวัติยุคแรกจะเพลี่ยงพล้ำ หรือได้รับโทษอย่างแสนสาหัสก็ตาม แต่ก็ยังมีพวกคนรุ่นหลังคิดการสืบต่อเนื่องกันไป และผลก็มักจะสำเร็จ"
การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้
1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด
2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป
3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ
5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ต่อมาในระยะเวลาไล่เลี่ย กันนั้น คณะปฎิวัติก็ได้ประชุมกันอีก ณ สถานที่เดิม เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีสมาชิกมาประชุมกัน 31 คน สมาชิกใหม่ 11 คน คือ

1) ร้อยตรี วาส วาสนา
2) ร้อยตรี ถัด รัตนพันธ์
3) ร้อยตรี เหรียญ ทิพยรัตน์ทั้งสามคนนี้ ประจำกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์
4) ร้อยตรี สง่า เรขะรุจิ
5) ร้อยตรี จาบ
6) ร้อยตรี ปรีดา
7) ว่าที่ร้อยตรี ศิริ ชุณห์ประไพทั้งสี่คนนี้ประจำกรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์
8) ร้อยตรี อ๊อด จุลานนท์
9) พ.อ. พระอร่ามรณชิต
10) ร้อยตรี หรี่ บุญสำราญ
11) ร้อยตรี สุดใจ

การ ประชุมครั้งนี้ ฝ่ายวางแผนได้กำหนดโครงการไว้ว่า จะลงมือทำการปฎิวัติในวันถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันต้นเดือนเมษายน ตรงกับศกใหม่ ร.ศ. 130 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสมัยนั้น บรรดาข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องมีหน้าที่ถวายสัตย์ปฏิญาณสาบานตนต่อพระแก้วมรกต เฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ พระประมุขของชาติ ในท่ามกลางพระบรมวงศ์จักรี มุขอำมาตย์ ราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ และสมณะชีพราหมณาจารย์ ด้วยวิธีดื่มน้ำที่แช่ด้วยคมหอกคมดาบ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระประมุขของชาติ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งกายวาจาใจ โดยทั่วกันทุกคน และในโอกาสนี้คณะปฎิวัติจะใช้ปืนใหญ่ยิงขึ้นท้องสนามหลวงเป็นอาณัติสัญญาณ โดยกรมปืนใหญ่ที่1 รักษาพระองค์ และที่บางซื่อโดยกรมปืนใหญ่ที่ 2 เป็นสัญญาณให้หน่วยกำลังกล้าตายของคณะปฎิวัติ ได้รีบกระทำการทันที ให้เอาสนามหลวงเป็นแหล่งชุมนุมพลแหล่งใหญ่ ทางด้านกฎหมาย ก็ได้ทำการค้นคว้าหาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญนานาชาติ เพื่อร่างกฎหมายเตรียมการไว้อย่างพร้อมสรรพ
มีการประชุมกันอีกหลาย ครั้ง และในครั้งที่4 นั้นก็มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีกหลายคน เช่น ร้อยตรี ลี้ ร้อยตรี ละม้าย ร้อยตรี สะอาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร้อยตรี บรรจบ ว่าที่ร้อยตรีชอุ่ม นาย เซี๊ยง สุวงค์ (พระยารามบัณฑิตสิทธิเศรณี) ร้อยตรี แช่ม ปานสีดำ
การประชุมได้ดำเนินไปอีก หลายครั้ง และมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นายทหารหน่วยกำลังเป็นพรรคพวกคณะปฎิวัติเกือบทั้งสิ้น และนอกจากเผยแพร่หาสมัครพรรคพวกในพระนครแล้ว ยังขยายกว้างออกไปยังต่างจังหวัดอีกด้วย
ในที่สุดคณะปฎิวัติก็มี สมัครพรรคพวกเพิ่มมากขึ้นทุกที ทหารที่จะมาอยู่ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาบันนั้น ทุกเหล่าพร้อมอาวุธ มาตั้งแถวเป็นเกียรติยศรับเสด็จพระราชดำเนินที่สนามหญ้าหลังวัดพระแก้ว ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และทหารราบที่11 รักษาพระองค์ที่ถือปืนติดดาบปลายปืน ยืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ ซึ่งที่จะอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด คือทหารของคณะปฎิวัติทั้งสิ้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายวางแผนได้ดำเนินการไปอย่างรัดกุมที่สุด
และตามแผนของคณะปฎิวัติ นั้น ทหารจะไม่ต่อสู้กันเลย แม้นายทหารจะออกคำสั่ง ทหารทั้งหลายจะตกอยู่ในการบังคับบัญชาของคณะปฎิวัติอย่างสิ้นเชิง และเพื่อความไม่ประมาท คณะปฎิวัติจึงต้องมีหน่วยกล้าตาย ออกทำการควบคุมตามจุดสำคัญๆ ไว้ด้วยทั้งสิ้น
ในการปฎิวัติครั้งนี้ จุดมุ่งหมายอันใหญ่ยิ่งของคณะปฏิวัติ ก็คือ ไม่ต้องการให้มีการนองเลือดอย่างปฎิวัติในฝรั่งเศส และอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าชาลส์ที่14 หรือการปฎิวัติโค่นล้มราชวงศ์แมนจู และการปฎิวัติในรัสเซีย เว้นแต่ว่าหลีกเลี่ยงมิได้
จุดมุ่งหมายแรกคือการทูล เกล้าถวายหนังสือแด่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ให้ได้ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ และมีพระบรมราชวินิฉัยให้เป็นไปตามหนังสือของคณะปฎิวัติ คือลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อันจะนำพาประเทศก้าวสู่ความก้าวหน้าเยี่ยงอารยะประเทศ แต่หากมิได้เป็นไปตามความมุ่งหมายนี้ คณะปฎิวัติก็จำเป็นจะต้องใช้กำลังรุนแรงก็อาจเป็นได้
เนื่องจากการปฎิวัติครั้ง นี้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทหารในต่างจังหวัดด้วย เพราะทหารเหล่านี้อาจเป็นอุปสรรคอันใหญ่ยิ่งในการปฎิวัติครั้งนี้ ด้วยเหตุนี้เอง คณะปฎิวัติจึงได้ส่งคนไปเกลี้ยกล่อมทหารตามจังหวัดต่างๆ ไว้เป็นพวก โดยคณะปฎิวัติได้ตกลงกันว่า มณฑลอยุธยา มีหน่วยทหารกองพลที่ 3 ประจำอยู่ และอยู่ใกล้พระนคร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาไว้เป็นสมัครพรรคพวก จึงได้ให้ร้อยตรี ม.ร.ว.แช่ รัชนีกร ไปเกลี้ยกล่อม ส่วนในมณฑลอื่น เช่น มณฑลนครไชยศรี เป็นหน้าที่ของ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ กับ ร.ต.จรูญ ษตะเมษ มณฑลราชบุรี เพชรบุรี ให้ ร.ต. บุญ แตงวิเชียร และ ร.ต.โกย ไปเกลี้ยกล่อม สำหรับมณฑลนครสวรรค์ มอบหมายให้ ร.ต.จันทร์ ปานสีแดง
การไปเกลี้ยกล่อมทหารต่าง จังหวัดนั้นได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนมากทหารหนุ่มยินดีให้ความร่วมมือด้วย แต่พวกนายทหารชั้นผู้ใหญ่นั้นไม่เอาด้วย
ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์ สมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งได้เสนอที่ประชุมว่า ได้ชักชวนสมาชิกใหม่คนหนึ่งไว้นานแล้ว ขณะนี้กำลังจะเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ทหารปืนใหญ่ที่ 7 ที่พิษณุโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไว้ใจได้ บุคคลผู้นั้นคือ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ คงอยู่) แต่ ร.ต. เนตร ซึ่งเป็นเลขาธิการนุการคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยกล่าวว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เคยเป็นศิษย์วัดเบญจมบพิตรมาด้วยกัน รู้นิสัยใจคอคนผู้นี้ดีว่าเป็นคนที่ไม่น่าไว้วางใจ นิสัยโลเล พูดจาไม่แน่นอน ไม่จริงใจ เป็นคนน่ากลัว ชอบให้ร้ายป้ายสี ถ้าเอามาเป็นพวกก็เกรงว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ อาจจะเป็นภัยแก่การปฎิวัติครั้งนี้ก็ได้
คำคัดค้านของ ร.ต. เนตร ทำให้สมาชิกชักจะเริ่มลังเล เพราะบุคคลิกของ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ตามที่ ร.ต. เนตร ได้อ้างมานั้น แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มิใช่นักปฎิวัต
อาจจะเป็นคราวเคราะห์ของ คณะผู้ก่อการปฎิวัติ ร.ศ. 130 เพราะที่ประชุมไม่สามารถระงับไว้ได้ โดย ร.ต.ทวน ได้นำ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้ามาในที่ประชุม ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในบ่ายของวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2454 ขณะนั้นการประชุมได้ดำเนินไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงไม่สามารถระงับได้ทัน เพราะในระหว่างที่อยู่นั้น ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็โผล่เข้ามา ร.ต. ทวน รีบออกไปต้อนรับอย่างเพื่อนสนิท สมาชิกทั้งหลายต่างพลอยแสดงความยินดีไปด้วย เพราะล้วนแต่เคยรู้จักกันมาก่อนแล้วทั้งสิ้นและทันที่ที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก้าวเข้าไปในที่ประชุม ก็ได้เกิดปรากฎการณ์แปลกประหลาด คือ แก้วนำยาอุทัยที่ตั้งอยู่กับพื้นเกิดแตกโพล๊ะเป็นสองท่อนขึ้นมาโดยไม่ทราบ สาเหตุ ทุกคนถึงกับตกตะลึง และพากันเข้าใจว่า น่าจะเป็นลางร้าย แต่ ร.ท. เจือ ได้พยายามพูดจากลบเกลื่อนไปในทางที่ดีและเป็นสิริมงคลเสีย ทั้งหมดจึงได้คลายวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประชุมกันต่อไป และมีพิธีสาบาน โดยเอาลูกกระสุนปืนแช่ในเหยือกน้ำ พร้อมกับคำสาปแช่งอย่างร้ายแรงว่า " ทุกคนจะต้องสุจริตต่อกัน ผู้ใดคิดการทรยศต่อคณะนี้จงพินาศ" จากนั้นก็รินน้ำสาบานให้ทุกคนดื่ม
หมอเหล็ง ศรีจันทร์ ประธานในที่ประชุม ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการปฎิวัติครั้งนี้ และแผนการณ์ต่างให้สมาชิกใหม่ทราบ โดย ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ มีความขัดข้องใจเรื่องราชวงศ์จักรี เกรงว่าจะกระทบกระเทือน ทำให้ประชาชนไม่พอใจ หมอเหล็ง ก็ได้อธิบายว่า
" .....เป็นความจำเป็น เพราะทั่วโลกเขาก็ทำกันอย่างนี้ เพราะบ้านเมืองเต็มไปด้วยความยากจน ในราชสำนักนั้นก็ฟุ้งเฟ้อ ไม่ผิดอะไรกับราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 การกระทบกระเทือนย่อมต้องมีบ้าง เพียงแต่พระมหากษัตริย์ลดพระราชอำนาจลงมาอยู่ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น สำหรับประชาชนนั้นจะได้แถลงนโยบายให้ทราบโดยทั่วกัน และพวกเขาทุกคนน่าจะพอใจที่จะได้ปกครองตนเอง ตามระบบประชาธิปไตย ซึ่งคงไม่มีปฎิกิริยาจากประชาชนเป็นแน่ ..."
ด้วยบุญญาธิการ อภินิหาร หรืออาจจะยังไม่ถึงคราวที่ราชวงศ์จักรีจะ สิ้นอำนาจ ก็ตาม ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ที่ ร.ต. เนตร วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจนั้น อาจจะไม่เห็นด้วยกับคณะปฎิวัติ หรือยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรืออาจจะเกรงกลัวอาญาแผ่นดิน หรือจะด้วยอะไรก็ตามแต่เถิด..... เพราะในที่สุด ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ก็จับเบอร์ได้เป็นผู้ที่จะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับจารพระราชวังสนามจันทร์ โดยทางรถไฟพระที่นั่ง ที่สถานีบางกอกน้อย อันเป็นแผนการณ์ของคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และแผนต่อไปคือ การจับกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไว้เป็นหลักประกัน โดยแผนการณ์ครั้งนี้เป็นแผนการณ์ที่ค่อนข้างจะร้ายแรงมาก เป็นการเสี่ยงมากทีเดียว
อาจเป็นเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่เห็นด้วยกับแผนการณ์ในครั้งนี้ หรือเพราะ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ ไม่มีหัวที่จะเป็นนักปฎิวัติ และยิ่งตนเองจะต้องเป็นผู้ลงมือด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ หนักใจยิ่งนัก และเมื่อหาทางออกอื่นไม่ได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจนำความลับนี้ไปปรึกษา ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) มหาดเล็กคนโปรดของพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ
เมื่อ ร.ท. ทองอยู่ (พ.ท. พระตะบะ) ได้ทราบเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็พา ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ เข้าเฝ้าหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่1 รักษาพระองค์ที่บางซื่อ โดยหม่อมเจ้าพันธุประวัติ ได้นำความกราบทูลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ในตอนเย็นวันนั้นเอง
สมเด็จเจ้าฟ้าฯทรงทราบ เรื่องก็รู้สึกวิตกพระทัยยิ่งนัก เพราะพระองค์ไม่ทรงได้คาดฝันมาก่อน เพราะบุคคลในคณะปฎิวัติ ร.ศ.130 นั้นเป็นลูกศิษย์ เป็นมหาดเล็กผู้ใกล้ชิด และตัวหมอเหล็งเองก็เป็นถึงแพทย์ประจำพระองค์ ซึ่งทรงโปรดปรานให้เข้าเฝ้าใกล้ชิด สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯจึงได้รีบรุดไปเข้าเฝ้ากราบบังคับทูล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยขบวนรถไฟพิเศษ
เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าจักร พงษ์ฯ เสด็จไปถึงก็รีบเข้าเฝ้าทูลเชิญเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปพบเพียงลำพังสองต่อสอง เพื่อกราบทูลพฤติการณ์สังหารโหด ของคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ซึ่งมุ่งหมายจะเปลี่ยนการปกครอง มาเป็นลัทธิประชาธิปไตย และมีแผนสังหารพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับรับฟังด้วยพระทัยอันทรงพระวิตก จึงได้มีพระราชดำรัสให้ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ รีบดำเนินการกับผู้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์โดยด่วนที่สุด ส่วนทางกองเสือป่าที่กำลังฝึกซ้อมอยู่ในขณะนั้น ก็สั่งให้เลิกซ้อมในทันทีทันใด
การจับกุมตัวพวกคณะปฎิ วัติ ได้กระทำกันอย่างรวดเร็วมาก โดยหลังจากที่กลับจากเข้าเฝ้ากราบบังคับทูลแล้ว ก็ได้ออกคำสั่งลับเฉพาะด่วนมาก เรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่ผู้บังคับการขึ้นไป ณ ห้องประชุมกลาโหม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯทรงเป็นประธาน โดยประตูห้องประชุมปิดหมด เพื่อมิให้ผู้ใดรู้เรื่องการประชุมในครั้งนี้
เวลา 11.00 น. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็มีคำสั่งให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ออกทำการจับกุมพวกคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 โดยแบ่งเป็นสายๆ กว่าจะจับกุมตัวได้หมด ก็ใช้เวลาพอสมควร และได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีการนองเลือดและต่อสู้ เพราะเหล่าพวกคณะปฎิวัตินั้นไม่เตรียมตัว เพราะต่างกำลังเฝ้าคอยข่าวคราวที่ ร.อ.หลวงสินาดโยธารักษ์ จะไปปฎิบัติ ว่าจะได้ผลเพียงใด จึงมิได้เตรียมการณ์ป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งหมดจึงถูกจับกุมโดยละม่อม ปราศจากการขัดขวางและแข็งขืน หรือต่อสู้
หลังจากจับกุมนักปฎิวัติได้ทั้งหมดแล้ว ก็มีพระบรมราชโองการ ให้ตั้งคณะกรรมการศาลทหารขึ้น โดยประกอบด้วย

1. จอมพล พระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) ปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
2. พลเอก พระยาศักดาวรเดช (แย้ม ณ นคร ) จเรทหารบก
3. พลตรี พระยาพิชัยสงคราม (เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร)
4. น.อ. พระยาวิจิตรนาวี
5. น.อ. พระยาสุนทรา (พระยาวินัยสุนทร) กรมพระธรรมนูญทหารเรือและนายทหารกรมพระธรรมนูญทหารเรืออีก 2 ท่าน



ภาพ:คณะผู้ปราบปรามผู้ก่อการกำเริบ.JPG
คณะผู้ปราบปรามผู้ก่อการกำเริบ
โดย รัฐบาลได้ขนานนามกลุ่มนักปฎิวัติ ร.ศ. 130 กลุ่มนี้ว่า "สมาคมก่อการกำเริบ" ไม่ใช้คำว่ากบฎ และการคุมขังนั้นได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คุมขังที่ต่างประเทศ คุมขังที่กระทรวงกลาโหม และคุมขังหรือกักบริเวณตามกรมกองต่างๆ
การสอบสวนของคณะกรรมการ ศาลทหาร เริ่มด้วยการพิมพ์หัวข้อคำถาม 13 ข้อ ให้ผู้ต้องหาตอบชี้แจง คำถามเหล่านี้ส่งไปยังที่คุมขังทุกแห่ง แล้วรวบรวมคำตอบของผู้ต้องหาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นกองๆ เพื่อค้นหาสาเหตุและหลักฐานของการกระทำผิด ของแต่ละบุคคล ว่าใครทำผิดหนักเบาต่างกันเพียงไร
คณะกรรมการสอบสวนชุดนี้ ใช้ห้องกลางมุขด้นหลังกระทรวงกลาโหมชั้น3 เป็นศาลทหาร พวกที่ถูกเรียกตัวมาสอบสวนที่ศาลทหารในกระทรวงกลาโหม ก็คือผู้ต้องหาประเภทที่1 ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกต่างประเทศ ศาลได้ส่งกรรมการเข้าไปไต่สวน หรือเผชิญสืบภายในคุกเอง โดยทางเรือนจำได้จัดห้องพิเศษไว้ให้เป็นการเฉพาะ สำหรับเจ้าหน้าที่และกรรมการศาลทหาร การสอบสวนและสืบสวน ได้ดำเนินการกันอย่างเคร่งเครียด
สำหรับคำให้การของหมอเหล็ง ศรีจันทร์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 มีความตอนหนึ่งว่า
" เพียงมีการหารือกันเพื่อทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณ ให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ มิได้มีการตระเตรียมกำลัง ที่จะยึดอำนาจแต่อย่างใด"
กรรมการท้วงว่า...." ถ้าไม่มีกำลังทหารบีบบังคับแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงยินยอมหรือ..."
หมอเหล็งได้อ้างถึงประเทศญี่ปุ่น ที่พระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ทำให้คณะกรรมการถึงกับอึ้งไป
คำให้การของ ร.ท. เจือ เสนาธิการผู้วางแผนการณ์ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับหมอเหล็ง ศรีจันทร์ แต่ได้เพิ่มเหตุผลบางประการเกี่ยวกับการทหาร โดยเกรงว่าจะไม่เป็นไปตามหลักวิชาเสนาธิปัตย์ ทุกคนได้ศึกษามาจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการทหารในขณะนั้น
คำให้การของ ร.ต. วาส วาสนา เป็นไปแบบขวานผ่าซากว่า..." ตามทัศนะของเขาเห็นว่า ราชการแผ่นดินสมัยนั้น เป็นประหนึ่งตุ๊กตาเครื่องเล่นของประเทศ จะยึดอะไรเป็นล่ำเป็นสันสักอย่างก็ไม่ได้ เขาเป็นมหาดเล็กได้เห็นพฤติกรรมในราชสำนักมาเป็นอย่างดี"
คำให้การของ ร.ต. ถัด รัตนพันธ์ ว่า...." เขาพอใจที่จะคิดเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง เพราะการเล่นโขนเล่นละครเสียเองของประมุขแห่งชาตินั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเลย มีแต่เสื่อมเสียพระเกียรติคุณแก่นานาประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนถึงชาติ และประชาชนอีกด้วย ควรให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นเขาแสดงและจัดการ การมีกองเสือป่าก็เช่นกัน ทำให้สิ้นเปลืองเงินของแผ่นดิน ทำให้ข้าราชการทหารและพลเรือนแตกร้าวกัน ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศเตอรกี...."
ประธานแก้แทนองค์พระ ประมุขต่างๆ นานา ว่า..."คนเราจะทำงานอย่างเดียวตะพึดตะพือไปได้อย่างไร ต้องมีการเล่นหัวบ้าง เพื่อเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย จะได้ทรงพระราชภาระได้ต่อไปอีกนานๆ..."
สำหรับ ร.ท. เนตร นั้น แม้คณะกรรมการจะพยายามซักไว้อย่างไร ก็ปฎิเสธมาโดยตลอดและการพิจารณาในตอนแรก รัฐบาลลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปีเท่านั้น แต่ก็มีเหตุที่ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง ออกกุศโลบายเพื่อข่มขู่รัฐบาล คือ ทำจดหมายขึ้นฉบับหนึ่ง มีใจความย่อๆว่า ถ้าสมาชิกคณะปฎิวัติถูกจำจอง หรือถูกคุมขัง แม้แต่คนเดียว ก็ให้ปืนใหญ่ 2 พร้อมกับเหล่าอื่นทำการได้ แล้วปาจดหมายให้ตกบริเวณกำแพงคุก ผู้คุมเก็บไว้ได้ และเสนอไปตามลำดับชั้น ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นกำลังพิจารณาคำพิพากษาของกรรมการศาลทหารอยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เลยทรงงดพระราชวินิจฉัยส่งกลับไป พร้อมกับจดหมายฉบับนั้น ให้กรรมการทำการสอบสวนกันใหม่ เพราะคณะปฎิวัติมิได้มีความประสงค์ จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองเท่านั้น กลับสมคบกันประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย
ร.ต. เจือ และ ร.ท. จรูญ ถูกคุมขังอุกฤษฎ์โทษ รวมทั้งคณะปฎิวัติทั้งหมดด้วย การสอบสวนครั้งที่2 ดำเนินต่อมาจนถึงเดือนพฤษถาคม 2454 คำพิพากษาของศาลทหาร ถวายขึ้นไปกราบทูลเป็นครั้งที่2 เพื่อขอพระราชวินิจฉัยขั้นเด็ดขาด
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 คณะกรรมการศาลทหารทั้ง 7 ท่าน ได้สนองพระราชโองการ นำคำพิพากษาไปอ่านให้ผู้ต้องหาในคุกต่างประเทศฟัง โดยมีผู้ต้องหาประเภทนี้ 10 คน
คณะกรรมการศาลทหารเดิน เข้าไปที่ประตูห้องขัง และกล่าวว่า...." พวกเธอทั้งหลาย คงซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณดีแล้ว ที่โปรดยกโทษอุกฤษฎ์ให้ คงเหลือแต่จำคุกเท่านั้น หาใช่เพียงแต่เท่านั้นไม่ พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาแก่พวกเธอต่อไปอีกเป็นแน่ ถ้าพวกเธอได้ประพฤติตนให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย อย่าได้กระทำการใด ซึ่งเป็นภัยแก่ตนเองอีก..."
และในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้นเอง เวลา 14.00 น. คณะกรรมการก็ได้เบิกตัวผู้ต้องหาประเภทที่2-3 ประมาณ 13 คน คือ

1. พ.ต. นายแพทย์หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ (อัทย์ หะสิตเวช)
2. ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส
3. ร.ต. บ๋วย บุณยรัตพันธุ์
4. ร.ต. ปลั่ง บูรณะโชติ
5. ร.ต. เจือ ศิลาอาสน์
6. ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์
7. ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
8. ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
9. ร.ต. สอน วงษ์โต
10. ร.ต. โกย วรรณกุล
11. ร.ต. จันทร์ ปานดำ
12. ร.ต. ถัด รัตนพันธุ์
13. ร.ต. ศิริ ชณหประไพ

ทุกคนอยู่ในชุดทหาร ตามยศ แต่ไม่ขัดกระบี่ เพื่อไปฟังคำพิพากษา และพระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด แต่ทุกคนอยู่ในอาการสงบ เพราะทราบดีอยู่แล้วว่า จะมีเหตุร้ายดีอะไรเกิดขึ้นในอนาคต ต่อมาทุกคนถูกถอดเครื่องแบบออกหมด และมีการสวมกุญแจมือ ก่อนที่จะเข้าไปในห้องประชุม
ต่อมาคณะกรรมการก็เข้านั่งโต๊ะพร้อมกัน พระยาพิชัยสงคราม เป็นผู้อ่านคำพิพากษา ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2454 มีใจความสำคัญดังนี้
"เรื่องก่อการกำเริบ ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้ว เรื่องเดิมมีนายทหารบกบ้าง ทหารเรือบ้าง พลเรือนที่ทำงานอยู่ในกระทรวงยุติธรรมบ้าง ได้สมคบคิดกัน ด้วยมูลความประสงค์คิดจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักร ได้ประชุมตั้งสมาคม เมื่อเดือนมกราคม ร.ศ.130 แล้วได้ประชุมกันต่อๆมาอีก ราว 8 คราว ตระเตรียมกันทำการกบฎ ถึงประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน กระทรวงกลาโหมทราบเรื่องนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.130 จึงได้จับนายทหารบกซึ่งเป็นหัวหน้า และคนสำคัญในสมาคมนี้ จัดการไต่สวนตลอดจนพรรคพวก กระทรวงกลาโหมได้ทำรายงานตามที่ไต่สวน และนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายทหารบก ทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการพิจารณาทำคำปรึกษาโทษ ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา มีใจความที่วินิจฉัย ตามที่ได้พิจารณาได้ความว่า ผู้ที่รวมคบคิดในสมาคมนี้ มีความเห็นจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นลีพับปิกบ้าง เป็นลิมิเต็ดมอนากี้บ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไร จึงจะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฎอยู่ในที่ประชุมถึงการกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เรื่องนี้เดิมทีดูเหมือนสมาคมนี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อจะเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมือง แต่ครั้นพิจารณาตลอดแล้วกลับได้ความว่า สมคบกันเพื่อประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี แต่ได้สมรู้เป็นใจและช่วยปกปิด เพราะฉะนั้น ตามลักษณะความผิดนี้ กระทำผิดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97 ตอนที่2 มีโทษประหารชีวิตด้วยกันทุกคน บางคนกระทำผิดมาก ไม่สมควรได้ลดโทษเลย แต่บางคนกระทำผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ในทางการพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรได้ลดหย่อนความผิดบ้าง อันเป็นเหตุควรลดโทษฐานปราณี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 37 และมาตรา 59 จึงกำหนดโทษ 5 ขั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1. ให้ลงโทษประหารชีวิต 3 คน
ชั้นที่ 2. ลดโทษลง เพียงจำคุกตลอดชีวิต 20 คน
ชั้นที่ 3. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 20 ปี 32 นาย
ชั้นที่ 5. ลดโทษลง เพียงจำคุกมีกำหนด 12 ปี 30 คน
มีผู้ต้องคำพิพากษาศาล ทหารเพียง 91 คนเท่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเด็ดขาด ลงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ดังนี้
"ได้ตรวจคำพิพากษาของศาล ทหาร ซึ่งได้พิจารณาปรึกษาโทษคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำเริบ ลงวันที่ 4 พฤษภาคมนั้นตลอดแล้ว เห็นว่ากรรมการพิจารณาพวกเหล่านั้น ชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมายทุกประการแล้ว แต่ความผิดของพวกเหล่านี้มีข้อสำคัญที่จะทำร้ายต่อเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยกโทษให้ได้ เพราะฉะนั้น บรรดาผู้มีชื่อ 3 คน ซึ่งวางโทษไว้ในคำพิพากษาของกรรมการ ว่าเป็นฐานชั้นที่1 ให้ประหารชีวิตนั้น ให้ลดโทษเป็นโทษชั้นที่ 2 ให้จำคุกตลอดชีวิต"
"บรรดาผู้มีชื่อ 20 คน ซึ่งลงโทษไว้เป็นชั้นที่2 ให้จำคุกตลอดชีวิตนั้น ให้ลดโทษลงเป็นชั้นที่3 ให้จำคุกคนละ 20 ปี ตั้งแต่วันนี้สืบไป
บรรดาผู้มีชื่อ 68 คน ซึ่งวางโทษไว้ในชั้นที่3 ให้จำคุก 20 ปี 32 คน และวางโทษชั้นที่4 ให้จำคุก 15 ปี 6 คน และวางโทษชั้นที่5 ให้จำคุก 12 ปี 30 คนนั้น ให้รอลงอาญา ทำนองอย่างที่ได้กล่าวในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 41 และ 42 ซึ่งว่าด้วยการลงโทษทางอาญาในโทษอย่างน้อยนั้น อละอย่าเพ่อให้ออกจากตำแหน่งก่อน
แต่ผู้มีชื่อ 3 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่2 กับผู้มีชื่ออีก 20 คน ที่ได้ลงโทษในชั้นที่3 รวม 23 คนดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ให้ถอดออกจากตำแหน่งยศบรรดาศักดิ์ ตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเคยมีแก่นักโทษเช่นนั้น"
ในจำนวนผู้ที่ต้องรับพระ ราชอาญาจำคุก 32 คนนั้น เป็นพลเรือนคนหนึ่งคือ นายอุทัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา กองล่ามกระทรวงยุติธรรม นอกนั้นเป็นทหารบก 22 คน ให้ถอดออกจากยศบรรดาศักดิ์แล้ว คือ
จำคุกตลอดชีวิต

1. ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
2. ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง
3. ร.ต. เจือ ศิลาอาสน์

จำคุก 20 ปี

1. ร.ท. เจือ ควกุล
2. ร.ต. เขียน อุทัยกุล
3. ร.ต. วาส วาสนา
4. ร.ต. ถัด รัตนพันธ์
5. ร.ต. ม.ร.ว. แช่ รัชนีกร
6. ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์
7. ร.ต. เหรียญ ทิพยรัตน์
8. ร.ต. ทวน เธียรพิทักษ์
9. ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์
10. ร.ต. สอน วงค์โต
11. ร.ต. ปลั่ง บูรณโชติ
12. ร.ต. จรูญ ษตะเมษ
13. ร.ท. ทองดำ คล้ายโอภาส
14. ร.ต. บ๋วย บุณยรัตนพันธ์
15. ว่าที่ ร.ต. ศิริ ชุณห์ประไพ
16. ร.ต. จันทร์ ปานสีดำ
17. ร.ต. โกย วรรณกุล
18. พ.ต. หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์
19. ร.ต. บุญ แดงวิเชียร